SEARCH

มอง “วิกฤติ” หรือ “โอกาส” ของไทย ระบบการเงินโลกปั่นป่วน

จีนนำเข้าน้ำมันดิบจากซาอุดิอาระเบียและรัสเซียลดลง
“วอร์เรน บัฟเฟตต์” มอง 3 เหตุผล “คริปโท” มีจุดจบที่แย่
น้ำมันจ่อทะลุ 100 ดอลลาร์ หุ้นไหนได้ประโยชน์-เสียประโยชน์?

แม้ยังเป็นที่ถกเถียงว่าสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ตอนนี้เข้าสู่วิกฤติการเงินแล้วหรือยัง? เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากการผิดนัดชำระหนี้ ไม่ได้มาจากหนี้เสีย แต่มาจากปัจจัยของแต่ละธนาคารที่บริหารและจัดการผิดพลาด แต่จากผลกระทบที่ยังลุกลามต่อเนื่องแม้มีการปิดความเสี่ยงแต่ละจุดแล้ว อาจจะเรียกได้ว่าเรากำลังก้าวขาข้างหนึ่งไปเข้าสู่วิกฤติการเงินเรียบร้อยแล้วก็ได้

จากธนาคารขนาดเล็กของสหรัฐ 3 ราย ทั้ง Silvergate Bank , Silicon valley bank (SVB) และ Signature Bank ขาดทุนจากขายพันธบัตรก่อนครบอายุ จากการไถ่ถอนของเจ้าของธุรกิจในตลาดคริปโทเคอร์เรนซี จนทำให้เกิด “Bank Run”

จนกระทรวงการคลัง และธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ต้องจัดตั้งโครงการ Bank Term Funding Program และการสั่งคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินเต็มจำนวนของทั้ง 2 ธนาคาร (Silicon valley bank (SVB) และ Signature Bank)

ปรากฏกลับเกิดแบงก์ที่มีขนาดใหญ่ของโลก “Credit Suisse ” ตามมาที่เผชิญขาดทุนหนักจากการลงทุนในช่วง 4 ปีหลัง ซึ่ง ธนาคารซาอุดี เนชั่นแนล แบงก์ (Saudi National Bank) หรือ SNB ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ประกาศว่าไม่เพิ่มทุน มากกว่า10% ซึ่งจะเป็นการทำผิดกฎระเบียบมีนัยว่า “อาการหนัก” เกินช่วยเหลือ จนธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ ยื่นเข้ามาให้เงินกู้ยืม 5 หมื่นล้านฟรังก์ ป้องกันล้มละลาย

สุดท้ายแม้ “Credit Suisse ” เพราะ Too Big To Fail ใหญ่เกินว่าจะปล่อยให้ล้มละลายได้ การที่ UBS บรรลุข้อตกลงเข้าซื้อกิจการด้วยราคา 3 พันล้านฟรังก์สวิส คิดเป็นอัตราแลกหุ้น 1 UBS ต่อ 22.48 CS พ่วงธนาคารสวิสฯ อนุมัติเงินกู้ให้ 1 แสนล้านสวิสฟรังก์เพื่อดำเนินการดีลนี้ด้วยเท่าเป็นการ อุ้มให้พ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้

ถัดมากลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ของสหรัฐระดมอัดฉีดเงินฝากใน First Republic Bank (FRB) อย่างแข็งขัน เช่น Bank of America, Wells Fargo,Citigroup และ J.P. Morgan รายละ 5 พันล้านดอลลาร์ Goldman Sachs และ Morgan Stanley รายละ 2.5 พันล้านดอลลาร์ และธนาคารอื่นๆ รายละ 1 พันล้านดอลลาร์ รวมเป็นเงินกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ล้วนแต่เป็นเงินที่ถูกไถ่ถอนออกจาก FRB ไปยังธนาคารใหญ่รายอื่นๆ

ล่าสุดธนาคารกลางโลกยังงัดมาตรการเก่า “เพิ่มสภาพคล่องเงินดอลลาร์” ธนาคารกลางแคนาดา ธนาคารกลางอังกฤษ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารกลางสหรัฐ และธนาคารกลางสวิสฯ ร่วมกันเพิ่มสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ 20 มี.ค.- 30 เม.ย. เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับธนาคารอื่นตามมาอีก

ขณะที่ธนาคารของไทยได้รับผลกระทบทางด้านราคาหุ้นแต่ไม่ได้เจอสถานการณ์ Bank Run ความเชื่อมั่นรับธนาคารของไทยยังแข็งแกร่ง แม้ว่าครึ่งปีแรก 2566 จะเริ่มมีการพูดถึงการบันทึกขาดทุนถือครองพันธบัตรเพิ่มสูงขึ้นแต่ด้วยฐานะการเงินที่เข้มงวด และเกินเกณฑ์มาตลอดพอให้นักลงทุนไทยมองภาพเป็น “โอกาส” ได้เหมือนกัน

แหล่งข่าว มอง “วิกฤติ” หรือ “โอกาส” ของไทย ระบบการเงินโลกปั่นป่วน, bangkokbiznews, 21 มี.ค. 2566

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0