SEARCH

“ภูมิรัฐศาสตร์”บนปากเหว ปัจจัยกฎการค้า-ต้นทุนธุรกิจเพิ่ม

S&P 500 ดาวโจนส์ทำสถิติสูงสุดวันแรกของการซื้อขายของปี
โบรกเกอร์คัดหุ้นเด็ด รับกระแส ‘ฟันด์โฟลว์’ ครึ่งแรกปีนี้ ลุ้นแตะแสนล้าน
จุดชี้ขาดทิศทางทองคำ

พูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ให้สัมภาษณ์ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า ผลการศึกษาขององค์การการค้าโลก (WTO) เรื่อง “The Impact of Geopolitical Confliction Trade,Growth,and Innovation” เผยแพร่เดือน มิ.ย.2565 บอกถึงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์หากเกิดขึ้นรุนแรง และแยกเศรษฐกิจโลกเป็น 2 กลุ่มชัดเจน

เนื่องจากต้นทุนการค้าและอัตราภาษีเฉลี่ยจะสูงขึ้น โดยอาจเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ (welfare loss) 4.0-10.5% ขณะที่ความร่วมมือทางการค้าภายในกลุ่มจะสำคัญขึ้น ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน

ในอดีตภูมิรัฐศาสตร์จะมุ่งเน้นเชิงความสัมพันธ์ทางการทหาร แต่ในช่วงหลังถูกลดระดับความสำคัญลง แต่ปัจจุบันการชิงความเป็นผู้นำทางการทหารกลับมามีบทบาทสำคัญอีก โดยมุ่งเน้นที่การเสริมความมั่นคงประเทศ ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารและการครอบครองยุทโธปกรณ์ สะท้อนจากรายจ่ายทางการทหารทั่วโลกท่ี่สูงขึ้น

ด้านแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญพบว่ายังอยู่สภาวะชิงความเป็นมหาอำนาจระหว่างสหรัฐและจีน แต่ต้องมอง 2 ด้านเพราะแนวโน้มความสัมพันธ์สหรัฐและจีนมีทั้งแข่งขันและความร่วมมือในเวลาเดียวกัน เพราะเศรษฐกิจ 2 ประเทศพึ่งพากันมาก

ปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์มีผลต่อต้นทุนขนส่งสินค้า เช่น การปิดกั้นเส้นทางขนส่งทางทะเลและราคาพลังงานที่สูงขึ้นจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน และมีผลต่ออุปทาน เช่น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่งผลต่ออุปทานพลังงานและอาหารโลก ปุ๋ยและสินค้าเกษตร

การแข่งขันระหว่างสหรัฐและจีน ทำให้เกิดแนวโน้มการแยกห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศอื่นที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตหรือค้าขายสินค้ากลุ่มนี้ ในทางตรงข้ามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ความไม่แน่นอนและความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ วิกฤติราคาพลังงานโดยเฉพาะในยุโรป ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงทั่วโลกเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

สำหรับบทบาทไทยในบริบทภูมิรัฐศาสตร์ภูมิภาคและของโลกนั้น ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ประเทศไทยถือเป็นจุดศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเชื่อมต่อภายในภูมิภาคและเชื่อมกับส่วนต่างๆ ของเอเชียทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และมีบทบาทเชิงรุกอย่างสร้างสรรค์เพื่อเป็นผู้เล่นสำคัญในเวทีโลกและมีความร่วมมือกับนานาชาติในลักษณะเกื้อหนุนต่อความก้าวหน้าในทุกด้านของไทย และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาคมโลก

แหล่งข่าว “ภูมิรัฐศาสตร์”บนปากเหว ปัจจัยกฎการค้า-ต้นทุนธุรกิจเพิ่ม, bangkokbiznews, 3 ม.ค. 2566

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0