ไม่นับรวมถึงภาวะทางสังคม สภาพภูมิอากาศ ทุกปัจจัยที่ว่ามานั้น ล้วนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกอย่างมหาศาล โดยเฉพาะแนวโน้มเศรษฐกิจ ที่เราเห็นสัญญาณการชะลอตัวชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ความผันผวนที่เกิดขึ้นส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วโลก ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงกว่าที่คาดการณ์ไว้
จนผู้นำทั่วโลก นักการเงินการลงทุน ต่างคิดคล้ายกันว่า เราอาจต้องพบกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในสหรัฐ ยิ่งมีปัจจัยเรื่องศึกสงครามเข้ามาซ้ำเติมอีก ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย ยูเครน ที่ไม่มีวี่แววว่าจะจบลง
ประเทศไทย ไม่สามารถหลีกหนีสถานการณ์เหล่านี้ได้พ้น เพราะไทยคือหนึ่งในระบบนิเวศของโลก ทุกประเทศทั่วโลกต่างอยู่บนระบบอีโคซิสเตมเดียวกัน เรามีระบบการผลิต มีการขนส่ง เราเดินทางท่องเที่ยวไปหาสู่ระหว่างกัน เราแลกเปลี่ยนสินค้า เงินตราต่างๆ ระหว่างกัน วิกฤติเศรษฐกิจทุกครั้งที่ผ่านมา ไม่ว่าจะ เป็นวิกฤติซับไพร์ม วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ฟองสบู่ดอทคอม หรือแม้แต่วิกฤติต้มยำกุ้ง ทุกวิกฤติล้วนส่งผลกระทบถึงกันในทุกประเทศ
การปรับตัวให้ได้ในโลกยุคที่มีความผันผวนสูงแบบนี้ จึงเป็นสิ่งที่ “ต้องทำ” หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ “ขีดความสามารถทางการแข่งขัน” ของประเทศไทย ไม่ค่อยดีนัก มาจากทัศนคติในการปรับตัว ส่งผลให้อันดับของไทยในเวทีโลกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น การปรับตัวในที่นี้ต้องมองให้ครอบคลุม ทุกมิติ ทั้งส่วนบุคคล องค์กรธุรกิจ ซึ่งจะเห็นว่าเรามักเคยชินและเลือกทำแบบเดิมๆ มากกว่าลงทุนทำสิ่งใหม่
การปรับตัวในช่วงเวลานี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่ง ผู้นำประเทศ ผู้บริหาร ซีอีโอนักธุรกิจ พ่อค้ารายย่อยแม้แต่ปุถุชนคนธรรมดาหาเช้ากินค่ำ จำเป็นต้องเปลี่ยนชุดความคิดของตัวเอง ให้รับกับภาวะความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ได้ แยกแยะระหว่างปัจจัยที่ควบคุมได้ กับปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ใช้เวลาจัดการกับปัจจัยที่ควบคุมได้ให้มากขึ้น โดยเฉพาะการปรับกระบวนการทำงาน มายด์เซ็ตการใช้ชีวิต ดีกว่าไปพะวงกับเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้
แหล่งข่าว รับมือความ “ผันผวน” ของ “โลก” ให้ได้ทุกมิติ, bangkokbiznews, 14 ก.ค. 2565
COMMENTS