SEARCH

วัดใจ กนง. ปรับทิศทางดอกเบี้ยท่ามกลางเงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจดิ่งปีหน้า

ตลาดงานสหรัฐชะลอตัวแต่ยังห่างไกลจากระดับถดถอย
การปลดพนักงานของ Goldman กระทบต่อวาณิชธนกิจและตลาดโลก
วอลล์สตรีทปิดบวก นักลงทุนจับตารายงาน NFP

กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ(BBL) เชื่อว่า เฟดอาจใช้เครื่องมือ หรืออาวุธจาก “ภาวะถดถอย” Recession เป็นอาวุธในการปราบเงินเฟ้อ ดีกว่าปล่อยให้เงินเฟ้อสร้างปัญหา เหล่านี้ก็สะท้อนว่า “เงินเฟ้อ” ไม่ใช่ปัญหาที่จะจัดการได้ง่ายๆ ทั้งความเสี่ยงจากสงครามรัสเซียกับยูเครนที่อาจรุนแรงมากขึ้น ปัญหาซัพพลายเชนโลก ฯลฯ

“เงินเฟ้อ” ของไทย จะแตกต่างกับเฟด หลักๆ มาจากพลังงานเป็นหลักที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนเงินเฟ้อให้ปรับตัวเพิ่มขึ้น

เงินเฟ้อของไทย ก็อยู่ระดับสูงต่อเนื่อง แม้จะมีทิศทางชะลอตัวลงในระยะข้างหน้า แต่คงไม่ได้ลดลงเร็ว จนกลับสู่กรอบเป้าหมายตามที่ “ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) คาดหวังที่จะเห็นได้ในกลางปีหน้า ดังนั้น ปี 2566 อาจเป็น “โจทย์หิน” สำหรับการดำเนินนโยบายการเงิน และอาจไม่สามารถกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายที่ 1-3% ได้ หรืออาจต้องรอถึงปี 2567 ที่เงินเฟ้อจะกลับเข้าสู่กรอบได้

แบงก์ชาติยังต้องเผชิญกับแรงกดดันอื่นๆ เข้ามาทำให้การทำนโยบายการเงินยากขึ้นไปอีก
ทั้งจากการคาดการณ์ว่า ปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเผชิญความเสี่ยงมากขึ้น จากเศรษฐกิจทั่วโลกการชะลอตัว เหล่านี้อาจกดดัน การส่งออก การค้า การลงทุน หรือแม้แต่การท่องเที่ยว ที่ไทยหวังว่าจะเป็น “พระเอก” ในปีหน้า อาจลดลงได้ หากหลายประเทศเผชิญวิกฤติพร้อมๆ กัน นักท่องเที่ยวก็อาจได้รับผลกระทบ และอาจเดินทางน้อยลงได้

ดังนั้น แบงก์ชาติอาจต้องเผชิญกับ “ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก” ในการทำนโยบายการเงินมากขึ้น เพราะหากปล่อยเงินเฟ้อสูงแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ แล้วดำเนินนโยบายการเงิน ยังทำแบบค่อยเป็นค่อยไป สิ่งที่อาจตามมาคือ เงินเฟ้อก็ไม่ลง และคนอาจยิ่งเตลิด ยิ่งคาดการณ์เงินเฟ้อสูงขึ้น และราคาสินค้าสูงขึ้น การขึ้นค่าแรงต่างๆ ตามมา การขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ก็อาจไม่เพียงพอในการ “คุมเงินเฟ้อ” ได้

ที่หลายคนกังวลก็อาจเกิดขึ้นคือ การต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย หรือการทำนโยบายการเงินที่เข้มข้นขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ทำให้เราอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยง การเผชิญกับ สิ่งที่หลายคนกลัวคือ การเผชิญกับ Wage price spiral ได้ในระยะข้างหน้า

แต่ท่ามกลางความจำเป็นมากขึ้นในการ “ขึ้นดอกเบี้ย” หากเงินเฟ้อสูงขึ้น และปีหน้า เศรษฐกิจไทยจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น จากเศรษฐกิจโลกถดถอย ที่อาจสร้างความเปราะบางให้เศรษฐกิจไทยมากขึ้น ดังนั้น การ “ขึ้นดอกเบี้ย” ในยามนี้ แบงก์ชาติอาจเจอแรงเสียดทาน เจอภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของจริง จากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน

แหล่งข่าว วัดใจ กนง. ปรับทิศทางดอกเบี้ยท่ามกลางเงินเฟ้อสูง เศรษฐกิจดิ่งปีหน้า, bangkokbiznews, 16 ก.ย. 2565

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0