SEARCH

สำรวจ 22 บจ.ประกาศแผนลงทุนคริปโทฯ หวังผลยาวหรือขี่กระแสช่วงสั้น?

ภาพทางเทคนิคของ Bitcoin ยังตกต่ำ
คลังยัน ’กำไร’ จากคริปโตเคอเรนซีเสียภาษี
หมีในตลาดคริปโตยังคงแข็งแกร่ง

สินทรัพย์ดังกล่าวเริ่มได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งจากบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกและสถาบันการเงินชั้นนำที่มีชื่อเสียง เช่น “เมตา” (Meta) อดีตเฟซบุ๊ก “เพย์พาล” (Paypal) ผู้รับชำระเงินรายใหญ่ “ซีเอ็มอี กรุ๊ป” (CME Group) บริษัทด้านการลงทุนอนุพันธ์รายใหญ่ ฯลฯ รวมถึงการยอมรับจากรัฐบาลในหลายประเทศ

สำหรับประเทศไทย นอกเหนือจากความนิยมกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มนักลงทุนรายย่อยแล้ว บริษัทขนาดใหญ่ รวมถึงบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหุ้นก็เล็งเห็นถึงโอกาสการลงทุนและการนำสินทรัพย์ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ต่อยอดธุรกิจเช่นกัน

“กรุงเทพธุรกิจ” รวบรวมรายชื่อ บจ.ที่ประกาศแผนการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล เบื้องต้นพบว่ามีจำนวนประมาณ 25 บริษัท ดังนี้

1. บมจ.เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี (AJA) ประกาศลงทุนในธุรกิจเหมืองขุดบิทคอยน์ (Bitcoin Mining) โดยทยอยจัดซื้อเครื่องขุดฯ จำนวน 200 เครื่อง งบลงทุนรวมไม่เกิน 900 ล้านบาท

2. บมจ.แอสเซทไวส์ (ASW) ตั้งบริษัทย่อยเพื่อศึกษาและลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเน้นที่เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)

3. บมจ.บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป (BROOK) ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลต่างๆ ทั้งเหรียญที่มีความมั่นคงทางมูลค่า (Stablecoin) เช่น บิทคอยน์ อีเธอเรียม (Ethereum) ไบแนนซ์ (Binance) ฯลฯ และเหรียญที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น รวมถึงมีแผนลงทุนในเหมืองขุดเหรียญฯ

4. บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (CGH) เข้าถือหุ้น “คริปโตมายด์ กรุ๊ป” 25% ตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนโครงการสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse

5. บมจ.โคแมนซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล (COMAN) ตั้งบริษัทย่อยลงทุนธุรกิจเหมืองขุดสกุลเงินดิจิทัล (คริปโทเคอร์เรนซี) เพื่อจำหน่ายต่อ

6. บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ (GRAMMY) จับมือพันธมิตรเปิดตลาดขายเพลงบน NFT (ขายเพลงด้วยสัญญาบล็อกเชน)

7. บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ส่งบริษัทย่อยจับมือกับกลุ่ม Binance เพื่อศึกษาและจัดทำแผนธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange)

8. บมจ.เจ มาร์ท (JMART) ออกเหรียญ JFIN Coin ใช้ในระบบนิเวศ (Ecosystem) เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในเครือ

9. บมจ.จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น (JTS) ปรับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อรองรับการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลในอนาคต รวมถึงลงทุนธุรกิจเหมืองขุดบิทคอยน์

10. ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) บริษัทย่อย “คิวบิกซ์” (Kubix) ได้รับใบอนุญาตผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ขณะที่อีกหนึ่งบริษัทย่อย “บีคอน เวนเจอร์” (beacon) เข้าลงทุนในคริปโตมายด์ กรุ๊ป

11. บมจ.เอ็ม วิชั่น (MVP) ขายหุ้นเพิ่มทุนแก่บุคคลในวงจำกัด (PP) โดยจะนำเงินที่ได้ไปใช้ขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล

12. บมจ.เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ (NRF) ตั้งบริษัทย่อยในสหรัฐเพื่อลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงธุรกิจเหมืองขุดคริปโทฯ

13. บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ (ORI) เตรียมออกเหรียญ P COIN เพื่อเป็นเหรียญอรรถประโยชน์ (Utility Token) หลังจากที่ก่อนหน้านี้ประกาศรับชำระค่าบ้านด้วยคริปโทฯ 3 สกุลหลัก ได้แก่ บิทคอยน์ อีเธอเรียม และเทเทอร์ (Tether)

14. บมจ.อาร์เอส (RS) เปิดตัวเหรียญ Popcoin เพื่อใช้ใน Ecosystem ของบริษัท เช่น การซื้อสินค้าและบริการ โดยมีแผนต่อยอดแคมเปญต่างๆ ในอนาคต

15. บมจ.สบาย เทคโนโลยี (SABUY) ตั้งบริษัทย่อยลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงคริปโทเคอร์เรนซี ปัจจุบันอยู่ระหว่างขอใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.ล.ต.

16. ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ส่งบริษัทย่อย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBS) ถือหุ้นใน “บิทคับ ออนไลน์” (Bitkub Online) ผู้ให้บริการเทรดสินทรัพย์ดิจิทัล Bitkub ในสัดส่วน 51%

17. บมจ.แสนสิริ (SIRI) ลงทุนใน บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล (XPG) เพื่อต่อยอดธุรกิจด้านการเงินและหลักทรัพย์ รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล

18. บมจ.ตงฮั้ว โฮลดิ้ง (TH) ประกาศตั้งประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี (CTO) ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อรองรับแผนธุรกิจดังกล่าวในอนาคต

19. บมจ.ยู ซิตี้ (U) มีแผนนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันมาจัดตั้งเป็นกองทรัสต์ (REITs)

20. บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) อยู่ระหว่างศึกษาออกโทเคนดิจิทัลทั้ง Utility Token และโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) เพื่อใช้ประโยชน์ในกลุ่มธุรกิจ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภคที่มีรายได้ประจำ

21. บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล (XPG) ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลครบวงจร ทั้งผู้ค้าโทเคนดิจิทัล นายหน้าโทเคนดิจิทัล ICO Portal นายหน้าคริปโทฯ และผู้ค้าคริปโทฯ โดยเป็นที่ปรึกษาในการออกและเสนอขาย “โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนสิริฮับ” (SiriHub Investment Token) ซึ่งเป็นโทเคนดิจิทัลแรกของไทย

22. บมจ.ซิก้า อินโนเวชั่น (ZIGA) ลงทุนธุรกิจเหมืองบิทคอยน์ ตั้งเป้าหมายขยายกำลังการขุดเป็น 1,400-1,500 เครื่องในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ จากเริ่มต้นที่ 200 เครื่อง และตั้งเป้าหมายระยะยาวเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 1 แสนเครื่อง

แม้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลจะเป็นเทรนด์การเงินแห่งโลกอนาคต แต่นักวิเคราะห์แนะนำนักลงทุนพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนจะซื้อหุ้นเพื่อคาดหวังผลตอบแทนจากธุรกิจดังกล่าว นอกจากราคาหุ้นที่อาจพุ่งขึ้นแรงแล้ว ยังอยากให้พิจารณาประวัติการดำเนินธุรกิจของบริษัทว่าทำได้ตามแผนที่สัญญากับผู้ถือหุ้นหรือไม่

แหล่งข่าว สำรวจ 22 บจ.ประกาศแผนลงทุนคริปโทฯ หวังผลยาวหรือขี่กระแสช่วงสั้น?, bangkokbiznews, 6 ก.พ. 2565

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0