แรงกดดันมหาศาลมาจากตัวเลขเงินเฟ้อของไทยเดือน พ.ค. ที่ประกาศออกมา 7.1 % สูงสุดในรอบ 13 ปี ซึ่งยังไม่มีทีท่าจะเป็นจุดสูงสุดเพราะด้วยราคาน้ำมันในเดือนมิ.ย.มีการปรับราคาขึ้นไปกรอบสูงสุด 35 บาต่อลิตร ส่วนราคาที่แท้จริงคือ 45 บาท ท่ามกลางราคาน้ำมันโลกที่ 120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
บวกกับไม่มีนโยบายช่วยเหลือค่าครองชีพมาช่วงพยุงราคามากเหมือนในอดีตที่ผ่านมา โดยเฉพาะการคงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาทต่อลิตรอย่างในอดีต จึงทำให้บรรดาสินค้าอุปโภค+บริโภคต้องขยับขึ้นราคาขายเช่นเดียวกัน จึงเป็นไปได้ยากที่อัตราเงินเฟ้อของไทยเดือนมิ.ย.จะแผ่วลง
หากปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นระยะเวลานานนอกจากจะทำให้ประชาชนต้องแบกรับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไปได้ ยังทำให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงจะเผชิญภาวะถดถอยได้อีกด้วย
บริบทเศรษฐกิจที่ยังต้องประคับประคองให้การฟื้นตัวยังมี ผ่านภาคการท่องเที่ยวที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่ด้วยโครงสร้างที่พึ่งพิงราคาน้ำมันด้วยการนำเข้าทำให้การใช้นโยบายดอกเบี้ยผ่อนคลายไม่สามารถดึงให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นได้
ดังนั้นหากประเมินจากระยะเวลาที่เหลือปี 2565 ยังมีการประชุมของ กนง. อีก 3 ครั้งคือ วันที่ 10 เดือนส.ค. ,วันที่ 28 เดือนก.ย. และวันที่ 30 พ.ย. หากยังคงดอกเบี้ยนโยบายยิ่งทำให้ส่วนต่างของดอกเบี้ยไทยและต่างประเทศมากขึ้น
แหล่งข่าว หุ้นตั้งรับ –สู้ ดอกเบี้ย(ไทย)ขาขึ้น มาเร็วและแรงกว่าคาด, bangkokbiznews, 15 มิ.ย. 2565
COMMENTS