SEARCH

‘เกิดน้อย-โสดนาน’ดิสรัปอสังหา! หันปั้นดีมานด์‘เช่า-แชริ่งอีโคโนมี’

หุ้นร่วง ดอลลาร์แข็ง หลังรายงานการประชุมเฟด
น้ำมันผันผวนจากแนวโน้มอุปสงค์ที่แย่ลง
การวิเคราะห์คลื่น Nike วันที่ 6 มกราคม 2565

“ปิติ ตัณฑเกษม” กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB ฉายภาพความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในวงการอสังหาฯ ว่า โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปส่งผลกระทบต่อดีมานด์หลักของอสังหาฯ เพื่อขาย เริ่มจากอัตราการเกิด “ติดลบ” หมายความว่า อัตราการตายสูงกว่าอัตราการเกิดใหม่ คนแต่งงานช้า มีลูกน้อยลงหรือไม่ (ยอม) มีลูก ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญของการตัดสินใจมีบ้าน หรือซื้อที่อยู่อาศัย

ความต้องการ (ดีมานด์) ที่จะมีบ้านเกิดจากความต้องการแยกครอบครัว แต่งงาน มีลูก หรือ มีคนเกิดมากขึ้น เมื่อไม่มีใครสามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ ดังนั้นดีมานด์จึงมีแนวโน้มหดตัวลงอย่างชัดเจน

ในโลกแห่งดิสรัปชันเกิดขึ้นทั้งฝั่งดีมานด์และซัพพลาย โดยเฉพาะฝั่งดีมานด์ จากเดิมอยู่ในกลุ่มการซื้อเพื่ออยู่อาศัย เพื่อลงทุนให้เช่า เพื่อเก็งกำไร ซึ่งเป็นดีมานด์ที่ทำให้เกิดการซื้อขาย แต่หลังจากเกิดวิกฤติโควิด-19 ดีมานด์เหล่านี้ได้รับผลกระทบรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มเก็งกำไรและซื้อเพื่อลงทุนหายไป ขณะที่จำนวนประชากรเกิดใหม่ลดลงจึงเริ่มส่งผลกระทบเรียลดีมานด์

เรียกได้ว่าเป็นข่าวร้ายสำหรับวงการอสังหาฯ ในนาทีนี้! จากสังคมที่คนเกิดน้อย แก่เร็ว ตายยาก และจนนาน ทำให้ความจำเป็นในการมีที่อยู่อาศัยลดลง

ขณะที่ “จักรรัตน์ เรืองรัตนากร” กรรมการผู้จัดการ บริษัท รัตนากร แอสเซท จำกัด กล่าวว่า จำนวนประชากรของประเทศไทยจะหยุดนิ่งและลดลงไปเรื่อยๆ คาดว่า ภายในระยะเวลา 20 ปีประชากรไทยจะหายไปถึง 30-40%

ปัจจุบันอัตราการเกิดของประชากรค่อนข้างนิ่ง เกิดกับตายเท่ากัน จากนี้ไปจะยิ่งลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกที่จำนวนประชากรไม่ค่อยเติบโตแล้ว จากอัตราการเกิดน้อยลง จะเห็นว่าช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2555-2565) อัตราการเติบโตของประชากรไทยโตต่ำมากไม่ถึง 10%

สำหรับประเทศไทย น่าเป็นห่วง! เพราะไทยเป็นประเทศขนาดกลาง การที่ประชากรขยายตัวต่ำ ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะนั่นหมายความว่าทรัพยากรบุคคลหายไปและประเทศไทยก้าวสูงสังคมสูงวัย!! เป็นปัจจัยลบรุนแรงสำหรับธุรกิจอสังหาฯ ที่ต้องพึ่งพาอัตราการขยายตัวของประชากรในประเทศ เมื่ออัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศลดลงเรื่อยๆ กำลังซื้อของคนไทยที่จะซื้ออสังหาฯ ย่อมลดลงตาม ซึ่งเป็นเทรนด์ทั่วโลก

“ครอบครัวมีคนน้อยลง ส่งผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่น้อยลง ประกอบกับคนต่างชาติที่เข้ามาก็น้อยลง คนไทยก้าวสู่สังคมสูงวัยทำให้เศรษฐกิจโตช้าลงไปอีก”

แหล่งข่าว ‘เกิดน้อย-โสดนาน’ดิสรัปอสังหา! หันปั้นดีมานด์‘เช่า-แชริ่งอีโคโนมี’, bangkokbiznews, 03 มี.ค. 2565

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 1