SEARCH

เงินเฟ้อพุ่ง กระทบใครบ้าง? กลุ่มรายได้น้อย-อาชีพอิสระอ่วม ค่าครองชีพเพิ่ม

FTSE Russell เผยดัชนีประจำปีจะออกมาในปลายเดือนมิถุนายน
Delta และ United Airlines มั่นใจการใช้จ่ายหลังเกิดโรคระบาด
หุ้น Meme อย่าง Revlon พุ่งขึ้นมากกว่า 50%

ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มีการ Media Briefing “ภาวะและแนวโน้มเงินเฟ้อ” โดยมี 3 วิทยากร ที่มาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับภาวะและแนวโน้มเงินเฟ้อ อาทิ “สักกะภพ พันธ์ยานุกูล” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธปท. , “สุรัช แทนบุญ” ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน , “รุ่งพร เริงพิทยา” ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท.

ครั้งนี้ธปท.ได้มีการสำรวจ “เชิงลึก” เกี่ยวกับภาวะและแนวโน้มเงินเฟ้อด้วย ทั้งสำรวจจากภาคธุรกิจ และครัวเรือนสำหรับเงินเฟ้อในระยะสั้น 1ปีข้างหน้า ว่าคิดเห็นและมองเงินเฟ้อเป็นอย่างไร?

โดยผลสำรวจใช้ให้เห็นว่า ไม่ว่ามองในมุมไหน ผู้บริโภคยังมองว่าเงินเฟ้อในระยะสั้นยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% แม้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในช่วงต้นของปี แสดงให้เห็นมุมมองของตอบแบบสอบถามว่า มองเงินเฟ้อว่าจะมีแนวโน้มลดลงในระยะข้างหน้า มองว่าเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยชั่วคราว

หากวิเคราะห์ลึกไปอีก เพื่อดู “ผลกระทบ”จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ที่กระทบต่อราคาสินค้าให้เพิ่มขึ้น กระทบใครบ้าง?

โดยพบว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า และบริการ มีผลกระทบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะการบริโภค โดยกลุ่มที่มีการใช้จ่ายในหมวดอาหารและเครื่องดื่มในสัดส่วนที่สูงกว่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า

ซึ่งหากดูรายได้ของผู้มีงานทำ ก่อนเกิดโควิด-19 ในปี 2562 เป็นต้นมา พบว่ารายได้ของผู้มีงานทำ แบ่งตามกุ่มอาชีพ ทั้งภาคบริการ อิสระ ภาคการผลิต ซึ่งการปรับเพิ่มของราคาสินค้ากระทบกลุ่มไหนมากกว่ากัน? ธปท.พบว่า ภาคบริการที่มีลูกจ้างราว 8 ล้านคน อาชีพอิสระ 9 ล้านคน ทั้งสองอาชีพนี้ รายได้ยังไม่ฟื้นตัว หากเทียบกับก่อนโควิด-19 หากเทียบกับภาคการผลิตที่มีกำลังแรงงาน 4 ล้านคน

นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า หากดูจากสัดส่วนการบริโภคในตระกร้า จากครัวเรือนรายได้น้อย คือกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 22,665 บาทต่อเดือน และรายได้สูง ที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 51,000 ล้านบาท พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย มีการใช้จ่ายไปกับหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ในสัดส่วนที่สูงกว่ารายได้สูง!

จากการแกะไส้ในสัดส่วนค่าใช้จ่ายจำแนกตามกลุ่มรายได้ ทั้งสองกลุ่ม ทั้งผู้มีรายได้น้อย และครัวเรือนที่มีรายได้สูง พบว่า ครัวเรือนที่มีรายได้น้อย มีการใช้จ่ายไปกับหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ค่อนข้างมากที่ 45% หากเทียบกับครัวเรือนรายได้สูงที่มีการใช้จ่ายในหมวดนี้เพียง 26% ขณะที่ครัวเรือนรายได้น้อย ใช้จ่ายไปกับหมวดพลังงานที่ 11% และครัวเรือนรายได้สูงใช้จ่ายกับหมวดพลังงาน 15% ดังนั้นหาก สินค้าอาหารเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น จะทำให้คนที่ใช้จ่ายในหมวดนี้มาก อาจรู้สึกว่าของแพงขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่นๆ หรือหากเทียบกับกลุ่มที่ ไม่ได้ใช้จ่ายกับหมวดที่มีการปรับราคาเพิ่มขึ้น

หากมาดูด้านพฤติกรรมการบริโภค พบว่าแม้เป็นสินค้าประเภทเดียวกัน เช่นหมู ที่มีราคาแพงขึ้น การปรับเพิ่มขึ้นของราคายังไม่เท่ากัน โดยดูจาก ราคาเนื้อหมูที่มียี่ห้อ หมูหน้าเขียง และหมูมียี่ห้อ โดยพบว่า หมูที่มียี่ห้อ การเพิ่มขึ้นของราคา ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก หากเทียบกับหมูหน้าเขียงและหมูไม่มียี่ห้อ ดังนั้นสรุปคือ คนที่ได้รับผลกระทบสูง จากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า คือกลุ่มที่มีค่าครองชีพสูง โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย ที่มีสัดส่วนการบริโภคอาหารถึง 45% หากเทียบกับกลุ่มรายได้สูงที่มีการบริโภคเพียง 26% ในขณะที่กลุ่มแรงงานในอาชีพบริการ และอาชีพอิสระ รายได้มีการฟื้นตัวช้ากว่า ภาคการผลิต ดังนั้นอาจเจอผลกระทบทั้งแง่ราคาที่สูงขึ้น และรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อีกทั้งภาพใหญ่คนยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือนอีกด้วย

แหล่งข่าว เงินเฟ้อพุ่ง กระทบใครบ้าง? กลุ่มรายได้น้อย-อาชีพอิสระอ่วม ค่าครองชีพเพิ่ม, bangkokbiznews, 13 ก.พ. 2565

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0