เมื่อรวมกับปัจจัยใหม่ในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่ไต่ระดับพุ่งสูงขึ้นตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ล้วนเป็นคำถามว่าหากเกิดวิกฤติระลอกใหม่ประเทศไทยจะก้าวผ่านปัญหาไปได้อย่างไร
วันก่อนมีโอกาสได้สนทนากับดร.วลพล โสคติยานุรักษ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรวิทยาการการจัดการสำหรับนักบริหารระดับสูง (วบส.) ที่สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ดร.วรพลถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจการเงินการคลัง ในอดีตมีบทบาทช่วยประเทศฝ่าวิกฤติต้มยำกุ้งผ่านการร่างกฎหมาย พ.ร.ก.กู้เงินในขณะนั้น และยังได้ช่วยเข้าไปช่วยฟื้นฟูตลาดทุนของไทยในช่วงหลังวิกฤติวิกฤติซับไพรม์
ช่วยทำให้ตลาดหลักทรัพย์ที่ซบเซากลับมาคึกคักซื้อขายในระดับสูง เป็นช่องทางระดมเงินที่สำคัญของภาคธุรกิจ ถึงขนาดที่ประเทศคู่แข่งอย่างสิงคโปร์ยังต้องยกหูโทรศัพท์ข้ามประเทศมาสอบถามว่าทำอย่างไรจึงทำให้มูลค่าการซื้อขายสูงได้มากขนาดนั้น
ดร.วรพลบอกว่าเศรษฐกิจไทยปัจจุบันน่าเป็นห่วงไม่น้อย ระดับหนี้สาธารณะแตะระดับ 10 ล้านล้านบาท (เกินกว่า 60% ของจีดีพี)ข้อจำกัดทางการคลังก็มีมาก สมมุติหากสามารถที่จะเก็บรายได้เกินเป้าปีละประมาณ 1 แสนล้านบาทและหากรัฐจะเอาเงินจำนวนนั้นไปใช้หนี้เงินต้นก็ต้องใช้เวลากว่า 100 ปีจึงจะใช้หนี้ได้หมด
แหล่งข่าว โมเดลสร้างโอกาสเศรษฐกิจไทย เพิ่มรายได้ประเทศ 6 แสนล้าน, bangkokbiznews, 08 เม.ย. 2565
COMMENTS