ปี 2565 ถือว่าเป็นช่วงรอการฟื้นตัวด้วยสถานการณ์โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ไม่สามารถเครมเอาประกันภัยได้ และการทยอยหมดอายุของประกันประเภท “เจอ จ่าย จบ” ที่ทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในอุตสาหกรรมที่ผ่านมา
โดยมี “สินมั่นคงประกันภัย” หรือ SMK ถือว่าเป็นรายแรกๆ ที่ออกอาการซวนเซจนถึงขั้นมีคำสั่งระงับการขายประกัน งวดไตรมาส 3 ปี 2564 ขาดทุนถึง 3,662 ล้านบาท ติดลบ 2,388% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 160 ล้านบาท มาจากค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 7,552.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,309.89 ล้านบาท หรือ 236.76 % จากงวดเดียวกันของปี
ตามมาด้วยเอเชียประกันภัย – เดอะวัน ประกันภัย และเคส “ช้างล้ม” อาคเนย์ประกันภัย – ไทยประกันภัย ในกลุ่มของเครือไทย โฮลดิ้งส์ หรือ TGH ล้วนมีฐานะขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถจ่ายเคลมให้ลูกค้าได้ บางรายยื่นข้อล้มละลายต่อศาลปกครองกลางจนนำไปสู่การเพิกถอนใบอนุญาต
ทั้งหมดคือ ความโกลาหลที่เกิดกับลูกค้าที่ค้างเติ้งไม่สามารถเคลมประกันได้ และธุรกิจต้องเร่งหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มทุนใส่สภาพคล่องเข้ามา ปรับโครงสร้างหนี้ หากยังต้องการดำเนินธุรกิจต่อไป หรือไม่ก็ขายกิจการในท้ายที่สุด
อย่างไรก็ตามปี 2565 สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะผู้ที่รอดในอุตสาหกรรมหลายรายเตรียมฟื้น จากการจ่ายยอดเคลมโควิดลดลง ได้ผลดีจากเงินลงทุนในตราสารหนี้ และยังได้รับอานิสงส์ความต้องการทำประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้น
จาก 18 บริษัทประภัยในตลาดหุ้น ช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนรายการกำไรออกมา กลุ่มที่พลิกกลับมาเป็นบวกสูงสุด ปรากฏเป็น บมจ.อินทรประกันภัย หรือ INSURE มีกำไร 107.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้น มากกว่าล้านเปอร์เซ็นต์ จาก 0.005 ล้านบาท และครึ่งปีแรก มีกำไร 705.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นหมื่นเปอร์เซ็นต์
หุ้น INSURE อยู่ในกลุ่ม TGH ประกอบไปด้วยธุรกิจประกันชีวิตที่เป็นกำไรหลักของกลุ่ม คือ “อาคเนย์ประกันชีวิต” ธุรกิจประกันวินาศภัย ผ่าน “ อาคเนย์ประกันภัย” “อินทรประกันภัย” และ” ไทยประกันภัย” ธุรกิจลิสซิ่ง ผ่าน “อาคเนย์ แคปปิตอล”
แหล่งข่าว 18 ประกันภัย “รอด” หรือ “ทรุด” หลังโชว์งบครึ่งปีแรก 65, bangkokbiznews, 17 ส.ค. 2565
COMMENTS