จากการเกิดขึ้นของบริษัทฟินเทคเกิดใหม่ หรือที่เรียกว่า “ฟินเทคสตาร์ทอัป” เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมากทั่วโลกกว่า 1,600 บริษัท โดยส่วนใหญ่เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการชำระเงินและการโอนเงินระหว่างประเทศ ทั้งนี้ราว 500 บริษัทอยู่ในสิงคโปร์
สำหรับประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ฟินเทคเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก โดยมีผู้เล่นจากทั้งในและนอกประเทศ โดยมีฟินเทคสตาร์ทอัปที่เป็นสมาชิกของสมาคมฟินเทคประเทศไทยจำนวนเกือบ 70 บริษัท โดยการที่มีบริษัทฟินเทคในประเทศมาก สามารถเป็นตัวสะท้อนถึงความแข็งแกร่งของโลกการเงินดิจิทัลได้ดี
ดันไทยสู่ “ฟินเทคฮับ” นายชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย เปิดเผยกับทาง“กรุงเทพธุรกิจ”ว่า การที่ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่ “ฟินเทคฮับ” เป็นการเพิ่มโอกาสให้เราสามารถเข้าถึงตลาดเงินและตลาดทุนได้ จะสามารถดึงดูดการลงทุน และเงินทุนของนักลงทุนจากทั่วภูมิภาคเอเชียหรืออาจถึงระดับโลก แต่ถ้าเทียบระดับการเติบโตฟินเทคฮับของประเทศไทยนั้น แต่ต้องยอมรับว่า“ฟินเทค ฮับ”ในประเทศไทย ยังไม่สามารถสู้กับต่างประเทศได้
แม้ว่าไทยจะมีการทำธุรกรรมด้วยการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Payment)ที่มีผู้ใช้งานเติบโตเป็นอันดับที่ 1ของโลก แต่การสร้าง “ฟินเทค ฮับ” ในประเทศไทย จะต้องมีจำนวนสตาร์ทอัปฟินเทคในไทยเพิ่มมากขึ้น มีการระดมทุนที่มากขึ้นและการสร้างงานวิจัย บทวิเคราะห์ต่างๆเพื่อใช้สนับสนุนอุตสาหกรรมฟินเทคและดิจิทัลแอสเสทมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังถือว่ามีขนาดที่เล็กกว่าสิงคโปร์มาก
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่องที่เรามักเห็นกันเป็นการลงทุนจากบริษัทไทย VC ไทยที่ลงทุนด้วยกันเอง ทำให้ธุรกิจหรือการลงทุนนั้นๆเติบโตเพียงแค่ในประเทศหรือไม่สามารถพัฒนาศักยภาพได้อย่างเต็มขั้น จึงไม่แปลกที่หลายๆบริษัทในไทยเดินทางไปจดทะเบียนบริษัทในประเทศสิงคโปร์
แหล่งข่าว สร้างไทยสู่ ‘ฟินเทค ฮับ’ เพิ่มโอกาสตลาดเงิน-ตลาดทุน, bangkokbiznews, 18 พ.ย. 2565
COMMENTS