หลายโรงงานในเอเชียเริ่มสะท้อนถึงอุปสงค์ที่เริ่มลดลงในเดือนกรกฎาคมทั้งในประเทศและจากทั่วโลก โดยหกในเก้าแบบสำรวจภาคเอกชนที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมการผลิตของผู้ผลิตรายใหญ่ของเอเชียหดตัวอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ภาคการผลิตของจีนลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน
นอกจากจีนแล้ว ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน เวียดนาม ต่างก็ส่งสัญญาณการหดตัวของกิจกรรมภาคการผลิตเช่นกัน โดยมีเฉพาะอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์สะท้อนถึงการขยายตัว
ทั้งนี้แม้ว่าความต้องการที่อ่อนแอสำหรับผลผลิตของโรงงานในเอเชียจะช่วยลดต้นทุนการผลิต ในญี่ปุ่นผู้ผลิตเริ่มสะท้อนถึงอัตราเงินเฟ้อของราคาวัตถุดิบยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นไตรมาสที่สาม
ราคาวัตถุดิบของเกาหลีใต้ในเดือนกรกฎาคมลดลงในอัตราที่เร็วที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2017 ขณะที่ราคาในไต้หวันลดลงอย่างรวดเร็วเป็นอันดับสองนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2020
ข้อมูลของรัฐบาลอย่างเป็นทางการล่าสุดแสดงให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อในเกาหลีใต้ชะลอตัวลงเหลือ 2.7% ในเดือนมิถุนายนจากระดับสูงสุด 6.3% เมื่อประมาณปีที่แล้ว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในไต้หวันอยู่ที่เกือบ 1.8% ในเดือนมิถุนายนจากระดับสูงสุดเมื่อประมาณปีที่แล้ว
แหล่งข่าว Asia’s factories face weak demand, signaling growth challenges ahead โดย CNBC
COMMENTS