ซึ่งจากข้อมูลของกรมการค้าภายใน ณ วันที่ 19 ม.ค. 2565 ราคาปาล์มทะลายที่โรงงานรับซื้อ 18% ในแหล่งผลิตสำคัญ 3 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี กระบี่ และชุมพร อยู่ที่ 10.50-11.70 บาทต่อกิโลกรัม เทียบกับราคาเฉลี่ยสิ้นปี 2564 ที่ 8.97 บาทต่อกิโลกรัม
ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาปาล์มและน้ำมันปาล์มบรรจุขวดปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง โดยปีที่ผ่านมาผลผลิตปาล์มของอินโดนีเซียและมาเลเซียผู้ผลิตปาล์มรายใหญ่ของโลกลดลงกว่า 5% จากผลกระทบของโควิด ทำให้แรงงานขาดแคลน ไม่มีคนงานออกไปเก็บเกี่ยวผลผลิต ขณะเดียวกันต้นทุนในการปลูกปาล์มของเกษตรกรสูงขึ้นตามราคาปุ๋ย
นอกจากนี้ เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว การค้า การขาย การท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคัก ทำให้มีดีมานด์ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้น สวนทางซัพพลายที่ลดลง ยิ่งทำให้ราคาปาล์มดีดตัวสูงขึ้น โดยกรมการค้าภายในคาดว่าราคาปาล์มจะกลับสู่ภาวะปกติในช่วงเดือนก.พ. นี้ เพราะจะมีปริมาณผลผลิตรอบใหม่เริ่มทยอยออกสู่ตลาด
ขณะที่ในฝั่งตลาดทุนราคาปาล์มที่พุ่งแรง กลายเป็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มผู้ประกอบการน้ำมันปาล์ม โดยสัปดาห์ที่ผ่านราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นกันถ้วนหน้าทำนิวไฮในรอบ 2 เดือน นำโดย บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) หรือ CPI ทำจุดสูงสุดที่ 3.70 บาท โดยบริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มประเภทต่างๆ ทั้งน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันเมล็ดในปาล์ม น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ น้ำมันเมล็ดในปาล์มบริสุทธิ์ และน้ำมันปาล์มโอเลอินตราลีลา
นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์พลอยได้อื่นๆ เช่น ไขปาล์มบริสุทธิ์ กรดไขมันปาล์มและกากเมล็ดในปาล์มสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และอุตสาหกรรมพลังงาน
ผลประกอบการล่าสุดงวด 9 เดือนปี 2564 มีกำไรสุทธิรวม 235.50 ล้านบาท เทียบกับปี 2563 ที่มีกำไรสุทธิ 159.05 ล้านบาท ราคาหุ้นซื้อขายที่ P/E 6.61, เท่า P/BV 0.99 เท่า
แหล่งข่าว “น้ำมันปาล์ม”แพงสุดเป็นประวัติการณ์”หุ้น”ไหนได้ประโยชน์?, bangkokbiznews, 23 ม.ค. 2565
COMMENTS