“นริศ สถาผลเดชา” หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี (ttb analytics) กล่าวว่า การเผชิญภาวะ “เงินเฟ้อสูง” อาจไม่ใช่เรื่องที่แปลกมากสำหรับประเทศไทย เพราะหากย้อนดูสถิติในช่วงที่ผ่านมา ไทยต้องเผชิญกับเงินเฟ้อสูงอยู่หลายระลอก โดยเฉพาะหากย้อนหลังไปถึง 16 ปี จนถึงปัจจุบัน พบว่าเงินเฟ้อได้ปรับขึ้นหลายระลอก
โดยหากย้อนไปดูเงินเฟ้อเมื่อปี 2551 หลังจากทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวจาก วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หรือซับไพรม์ ขณะนั้น น้ำมันวิ่งสูงใกล้เคียงปัจจุบันที่ 110-120 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้เงินเฟ้อไทยปรับตัวขึ้นไปสู่ 5.19% ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนสินค้าต่างๆทั้งการบริโภค อุปโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งค่าไฟ น้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง อาหาร เนื้อสัตว์ต่างๆ
หรือตอนน้ำท่วม ที่สินค้าต่างๆขาดแคลนในปี 2554 ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกระลอกที่ระดับ 3.81%แต่ที่น่าสงเกตคือ แม้จะผ่านช่วงที่เงินเฟ้อสูงไปแล้ว แต่จากวิกฤติต่างๆแต่เงินเฟ้อ ยังคงทรงตัวระดับสูงต่อเนื่อง หรือตกค้างต่อไปอีก 2-3 ปี ให้หลังได้
ดังนั้นเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ก็อาจไม่ใช่เรื่องที่แปลก หรือน่าตกใจ เพราะอิทธิพลของเงินเฟ้อ หลังเพิ่มขึ้น มักไม่ได้ใช้เวลาลงอย่างรวดเร็ว
ส่วนแนวโน้มปี 2565 คาดการณ์ว่า มีโอกาสที่เงินเฟ้อ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5% ได้ จากไตรมาสแรกที่ผ่านมา ที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 4.72% ดังนั้นโอกาสที่จะเห็นเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นอีกมีโอกาสสูง และโอกาสที่เห็นเงินเฟ้อตกค้างต่อเนื่องในระยะข้างหน้าก็มีโอกาสเช่นกัน
แหล่งข่าว เปิดสถิติ “เงินเฟ้อ” 16 ปีย้อนหลัง น่าห่วงแค่ไหน?, bangkokbiznews, 13 พ.ค. 2565
COMMENTS