ธนาคารสหรัฐ (FED) และ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยอย่างที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยตัวเลขเงินเฟ้อผู้บริโภคสหรัฐ (ไม่รวมราคาอาหารและพลังงาน) 4.9% เดือนส.ค. และเงินเฟ้อยูโรโซนแตะ 10% เดือนก.ย.ทำสถิติใหม่เป็นที่เรียบร้อย
สำหรับไทยแรงกดดันดังกล่าวยังไม่รุนแรงแต่ยังอยู่ในโหมดเฝ้าระวัง สะท้อนได้จากการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ขึ้นดอกเบี้ยในรอบ 2 ปี ตั้งแต่เดือนส.ค. ที่ 0.25% และเดือนก.ย. อีก 0.25%
บรรดาแบงก์ขายรับทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขาเงินฝาก และเงินกู้ รายล่าสุด ธนาคารกรุงไทย (KTB) ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระหว่าง 0.15% – 0.825% ต่อปี สำหรับเงินฝากประจำ 24 เดือน และ 36 เดือน เพิ่มขึ้นสูงสุด 0.825% ต่อปี เป็น 1.20% ต่อปีพร้อมคงอัตรา ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR) โดยปรับขึ้นเฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) 0.25% ต่อปี เป็น 5.50% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) 0.25% ต่อปี เป็น 6.07% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 4 ต.ค. 2565
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ธนาคารเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยตามกนง. ดีต่อ Net Interest Margin ของธนาคารขนาดใหญ่ หลัง กนง.ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% จาก 0.75% เป็น 1% ตามทิศทางเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อเป็นการยืนยันแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นชัดเจน ซึ่งคาดว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังคงต้องอยู่ในโหมดปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดย BBL นำร่องประกาศขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินกู้ และเงินฝากแล้วเป็นรายแรก ซึ่งคาดว่าหลายๆ ธนาคารต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นตาม ซึ่งจะส่งผลดีต่อธนาคารขนาดใหญ่ที่สินเชื่อส่วนใหญ่ใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัว ขณะที่เงินฝากมีส่วนที่เป็นเงินฝากประจำซึ่งต้องครบระยะเวลาถึงปรับขึ้นได้ทำให้เป็นบวกต่อ Net Interest Margin ของธนาคาร ขนาดใหญ่
ขณะที่ธนาคารขนาดเล็กที่ปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อเป็นส่วนใหญ่มองว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบค่อนข้างจำกัดจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากอยู่ในธุรกิจนี้มานานรู้วิธีการปรับต้นทุนทางการเงิน โดยการระดมเงินทุนระยะยาวที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ เพื่อลดผลกระทบดังกล่าวแล้ว
แหล่งข่าว แบงก์ขึ้นดอกเบี้ยพร้อมเพรียง ลดภาระต้นทุน – กำไรดีขึ้น, bangkokbiznews, 04 ต.ค. 2565
COMMENTS