SEARCH

เอเชียได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการแข็งค่าของดอลลาร์

ความน่าเชื่อถือไทย “BBB+” และคาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 65 จะขยายตัว 4.5%
ทองคำร่วงลงโดยข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐหนุนแนวโน้มเหยี่ยวกลับมา
S&P500 อยู่ในตลาดหมีหรือกลับสู่การเติบโต?

วันนี้ (28/09/2022) ตลาดเอเชียร่วงหลังหลังการขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งสร้างความกลัวต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจทั่วโลก และส่งผลให้นักลงทุนเข้าหาที่หลบภัยอย่างดอลลาร์และส่งเงินหยวนแตะจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นเหนือ 4.0% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2010

สเตอร์ลิงยังอยู่ภายใต้แรงกดดันอีกครั้งหลัง Moody วิจารณ์ว่าการลดภาษีของอังกฤษนั้นไม่ได้หนุนเศรษฐกิจและกลับเป็น “ผลลบ” ต่อสถานะเครดิตของประเทศ Jennifer McKeown หัวหน้าฝ่ายเศรษฐศาสตร์ระดับโลกของ Capital Economics กล่าวว่า “ตอนนี้เป็นที่ชัดเจนว่าธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วจะดำเนินกระชับนโยบายรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี และขณะนี้เราคาดว่าปีหน้าเศรษฐกิจทั่วโลกจะเข้าสู่ภาวะถดเถอยหรือเข้าใกล้การถดถดย”

ดัชนี MSCI หุ้นเอเชียแปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นลดลง 1.7% สู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2020 ดัชนี Nikkei ร่วง 2.1% และดัชนีหุ้นเกาหลีใต้ร่วง 2.4% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 2 ปี ดัชนีบลูชิปลดลง 0.6%

ฟิวเจอร์ส S&P 500 ลดลง 0.8% ฟิวเจอร์ส Nasdaq ลดลง 1.0% ฟิวเจอร์ส EUROSTOXX 50 ลดลง 1.1% และฟิวเจอร์ส FTSE ลดลง 1.0%

“อัตราผลตอบแทนยุโรปพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบหลายปีท่ามกลางความกังวลนโยบายเหยี่ยวและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอิตาลีที่เกิดขึ้นท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูง” นักวิเคราะห์จาก JPMorgan กล่าว

George Saravelos หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์ FX ระดับโลกของ Deutsche Bank กล่าวว่า ขณะนี้นักลงทุนต้องรับมือกับปัจจัยหลายประกาศอาทิ การขาดดุลการค้าของประเทศ และการขึ้นดอกเบี้ยอีก 200 จุดภายในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนกระทบต่อค่าเงิน”

สเตอร์ลิงอยู่ภายใต้แรงกดดันอีกครั้งที่ 1.0655 ดอลลาร์ หลังจากฟื้นตัวจากระดับต่ำสุดอย่างเป็นประวัติการณ์ในวันจันทร์ที่ 1.0327 ดอลลาร์ อัตราผลตอบแทนของอังกฤษอายุ 10 ปีดีดขั้นถึง 119 จุด อยู่ที่ 4.50% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุด 1979

ที่หลบภัยของนักลงทุนอย่างดอลลาร์สหรัฐได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของปอนด์ ล่าสุดอยู่ที่ 114.680 เมื่อเทียบกับตะกร้าสกุลเงินหลัก ดอลลาร์ยังอยู่ที่ 144.67 เยน แม้มีการแทรกแซงของทางการญี่ปุ่นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ตาม

ยูโรอ่อนค่าลงอีกครั้งที่ 0.9552 ดอลลาร์ และกลับสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปีที่แตะไปเมื่อสัปดาห์ก่อนที่ 0.9528 ดอลลาร์ ดอลลาร์ยังแข็งค่าเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับหยวนที่ 7.2088 โดยนับเป็นการเพิ่มขึ้น 8 เซสชั่นต่อเนื่อง

การแข็งค่าของดอลลาร์และการเพิ่มขึ้นของบอนด์ยีลด์ก็กำลังกดดันราคาทองคำ ล่าสุดอยู่ที่ 1,624 ดอลลาร์ต่อออนซ์หลังจากแตะระดับต่ำสุดที่ไม่เคยเห็นมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2020

น้ำมันกลับมาร่วงอีกครั้งจากความกังวลด้านอุปสงค์และดอลลาร์ที่แข็ง โดยเบรนต์ร่วงลง 1.02 ดอลลาร์ ปิดที่ 85.25 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบสหรัฐร่วง 93 เซนต์ ปิดที่ 77.57 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

แหล่งข่าว Asia markets slugged by recession risk, dollar strength โดย Reuters

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0