SEARCH

หลายบริษัทในจีนกำลังมองหาผู้อุปทานจากต่างประเทศ

น้ำมันร่วงจากการขายทำกำไร ตลาดยังจับตาสถานการณ์ในยูเครน
ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับเยน บอนด์ยีลร่วงหลังรายงาน CPI
เปิดศักราช ปี 65 “ต่างชาติ” ลุยเข้าซื้อหุ้นไทยต่อเนื่อง 6.1 พันล้าน

ตามรายงานของ The Economist Intelligence Unitb พบว่า มาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของจีนกำลังทำให้บรรดาบริษัทต่างๆ ต้องมองหาบริษัทผู้อุปทานจากต่างประเทศ “ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ปิดๆ เปิดๆ พวกเขากำลังพยายามเดินธุรกิจด้วยการกระจ่ายห่วงโซ่อุปทานไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้เราคาดว่าจะไม่มีการเคลื่อนย้ายของโรงงาน”

อย่างไรก็ตาม แม้มีการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด แต่ทางการยังพยายามหาแนวทางเพื่อช่วยให้บรรดาผู้ผลิตรายใหญ่ดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยแนวทางการทำงานแบบระบบวงจรปิด ซึ่งจะให้พนังงานสามารถเดินทางระหว่างที่พักและทำที่ทำงานเพียงเท่านั้น

ในด้านผู้อุปทานของ Apple อย่าง Foxconn ก็เริ่มสะท้อนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นท่ามกลางการคุมเข้มของทางการจากการแพร่ระบาดที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

“เห็นได้ชัดว่าหากทางการไม่เปลี่ยงแปลงนโยบาย Zero Covid ซึ่งหมายความว่าเศรษฐกิจที่ปิดๆ เปิดๆ มันจะเกิดขึ้นต่อไป” Patrick Chen หัวหน้าฝ่ายวิจัยของ CLSA ในไต้หวันเสริมว่า “ฉันยังไม่เห็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมากนักสำหรับการจัดการหรือการผลิตวัคซีนเพื่อจะนำมาฉีดให้กับประชาชน” แต่ผู้ผลิตบางรายเริ่มหาแนวทางที่จะสร้างวงจรการผลิตแบบปิดแล้ว อาทิ Foxconn ที่ประกาศเพิ่มเงินให้สำหรับพนักงานที่จะพักอาศัยอยู่ในโรงงาน

สำนักงานหอการค้าของสหรัฐในเซี่ยงไฮ้รายงานว่า บริษัทของสหรัฐที่ลงทุนในจีนจำนวนเกือบ 2 เท่าเริ่มลดการลงทุนในจีนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยมีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ทำแบบสอบถามที่ระบุว่ากำลังเพิ่มการลงทุนในประเทศ และตัวเลขยังต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่ 38%

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา Apple ประกาศขยายการผลิตไปในอินเดียเป็นครั้งแรก โดยด้านนักวิเคราะห์ของ JPMorgan คาดการณ์กำลังการผลิตจะอยู่ที่เพียง 5% ของการผลิต iPhone 14 ทั่วโลก

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จีนประกาศมาตรการกระตุ้น FDI ในอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน อาทิ แอนิเมชั่นและการผลิตเบียร์ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับมาตรการควบคุมโควิด-19

แหล่งข่าว China’s Covid controls are pushing companies to diversify away from a ‘start-stop economy’ โดย CNBC

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0