SEARCH

กิจกรรมภาคโรงงานและค้าปลีกในจีนหดตัวจากการแพร่ระบาด

ราคาน้ำมันพุ่งจากอุปทานที่ตึงตัว หลังรัสเซียปฏิเสธการเจรจาสันติภาพ
‘นักวิชาการ’ ห่วงศก.โตต่ำหลัง กนง.เร่งขึ้นดอกเบี้ย แนะช่างน้ำหนักผลกระทบ
5 หุ้นค้าปลีกรายใหญ่ เทคออฟรับกำลังซื้อฟื้นต่อเนื่อง

เศรษฐกิจจีนขาดแรงกระตุ้นในเดือน พ.ย. เนื่องจากผลผลิตของโรงงานชะลอตัวและยอดค้าปลีกที่ลดลงจากการล็อกดาวน์ในหลายเมืองสำคัญ ปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ และอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนแอลง สะท้อนถึงแนวโน้วที่ยากลำบาก แม้ทางการจะคลายความเข้มงวดของมาตรการป้องกันไวรัส

ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์ของรอยเตอร์ที่ 3.6% และชะลอตัวลงจาก 5.0% ในเดือน ต.ค. ตามข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NBS) เปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี ถือเป็นการเติบโตที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ค.

ขณะที่ ยอดค้าปลีกลดลง 5.9% ท่ามกลางความอ่อนแอในวงกว้างในภาคบริการ ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. นักวิเคราะห์คาดว่าจะหดตัว 3.7% เร่งขึ้นจากระดับ 0.5% ในเดือน ต.ค.

Hao Zhou หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ GTJAI กล่าวว่า “ข้อมูลกิจกรรมที่อ่อนแอชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องผ่อนคลายนโยบายการควบคุมโรคต่อไป”

ธนาคารกลางของจีนเพิ่มการอัดฉีดเงินสดเข้าสู่ระบบธนาคารในวันพฤหัสบดี และตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นโยบายระยะกลางหรือ MLF เพื่อรักษาสภาพคล่อง

สำหรับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์พบว่าการลงทุนลดลง 19.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นการลดลงที่มากที่สุดนับตั้งแต่สำนักงานสถิติเริ่มรวบรวมข้อมูลในปี 2000 ตามการคำนวณของรอยเตอร์จากข้อมูลจาก NBS

อัตราว่างงานทั่วประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 5.7% จาก 5.5% ในเดือน ต.ค.

“ข้อมูลในเดือน ธ.ค. อาจแย่ยิ่งกว่านั้น” Alicia Garcia-Herrero หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Natixis กล่าวพร้อมปรับลดการเติบโต GDP ในไตรมาสที่ 4 ลงเหลือ 2.8% จาก 3% ก่อนหน้านี้

แหล่งข่าว China’s factory, retail sectors skid as COVID hits growth โดย Reuters

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0