น้ำมันพลิกกลับหลังร่วงลงในช่วงก่อนหน้าและปรับขึ้นในการค้าของเอเชียในวันนี้ (14/10/2022) โดยได้แรงหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าและสต็อกน้ำมันดีเซลของสหรัฐที่ลดลง ท่ามกลางความขัดแย้งของวอชิงตันและซาอุดีอาระเบียเกี่ยวกับนโยบายการผลิตของ OPEC+
สัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันดิบเบรนต์เพิ่มขึ้น 31 เซนต์หรือ 0.3% สู่ 94.88 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันดิบ WTI ของสหรัฐเพิ่มขึ้น 36 เซนต์หรือ 0.4% ที่ 89.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
Tina Teng นักวิเคราะห์จาก CMC Markets กล่าวว่า “ดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวและการดีดตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งของสินทรัพย์เสี่ยงทำให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น โมเมนตัมการฟื้นตัวอาจดำเนินต่อไปในช่วงเอเชียวันนี้ นอกจากนี้การลดกำลังการผลิตของ OPEC+ จะช่วยหนุนราคาอีกทางหนึ่งควบคู่ไปกับอุปสงค์ของจีนที่ฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 4”
ทั้งสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบเบรนท์และ WTI ลดลงในสัปดาห์ประมาณ 3% หลังจากเพิ่มขึ้นสองสัปดาห์ก่อนหน้าท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะถดถอย
Edward Moya นักวิเคราะห์จาก OANDA กล่าวว่า “น้ำมันดิบทำผลงานรอบสัปดาห์อย่างเลวร้าย แนวโน้มอุปสงค์ถูกบดขยี้เนื่องจากความกลัวภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่บางส่วนในจีนยังคงล็อคดาวน์ต่อเนื่อง”
ซาอุดีอาระเบียผู้นำ OPEC+ และสหรัฐยังคงมีข้อขัดแย้งสำหรับมติลดการอุปทาน โดยในด้านซาอุดีอาระเบียปฏิเสธคำวิพากษ์วิจารณ์ของวอชิงตันว่า “ไม่ได้อิงตามข้อเท็จจริง” ขณะที่ทำเนียบขาวกล่าวว่าการลดปริมาณการอุปทานอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและกล่าวหาว่าซาอุดิอาระเบียกดดันสมาชิกโอเปกรายอื่นๆ เพื่อรับมติดังกล่าว
น้ำมันยังได้แรงหนุนอีกทางหนึ่งจากรายงานสต็อกน้ำมันกลั่นของสหรัฐจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นเพราะเข้าใกล้ช่วงฤดูหนาว
น้ำมันดีเซลและน้ำมันฮีทติ้งออยล์ลดลง 4.9 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ 106.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม เทียบกับที่คาดการณ์ว่าจะลดลง 2 ล้านบาร์เรล ตาม EIA ในวันพฤหัสบดี
สิ่งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ดีเกินคาด พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของสต็อกน้ำมันเบนซิน สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 9.9 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ 7 ตุลาคมเป็น 439.1 ล้านบาร์เรล EIA กล่าวเสริม
แหล่งข่าว Oil inches up on weaker dollar, low U.S. diesel stocks โดย Reuters
COMMENTS