SEARCH

น้ำมันขึ้นจากความกังวลด้านอุปทานที่ตึงตัว

Starling ชี้คริปโตเป็นคุกคามต่อความปลอดภัยของระบบการชำระเงินทั่วโลก
ทำไมดอลลาร์สหรัฐจึงกลับมาแข็งค่าอีกครั้ง?
รอยเตอร์คาดเงินเฟ้อทั่วโลกจะสูงนานจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่เรื้อรัง

น้ำมันปรับตัวสูงขึ้นในการซื้อขายที่ผันผวนในวันอังคารเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับอุปทานเชื้อเพลิงที่ตึงตัวก่อนเข้าฤดูหนาว

สัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันดิบเบรนต์เพิ่มขึ้น 50 เซนต์หรือ 0.5% กลับไปที่ 94.50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ขณะที่สัญญาฟิวเจอร์สน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 52 เซนต์หรือ 0.6% กลับไปที่ 88.30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากที่สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับร่วงลงมากกว่า 1 ดอลลาร์ในช่วงก่อนหน้านี้

การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขณะนี้มาจากความกังวลเกี่ยวกับการอุปทานที่ตึงตัว โดยกระทรวงพลังงานสหรัฐรายงานว่าปริมาณสำรองปิโตรเลียมเชิงกลยุทธ์ (SPR) ลดลง 8.4 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ 434.1 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 กันยายน ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 1984 โดยที่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาโจไบเดนได้กำหนดการปล่อยปริมาณสำรองเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงหกเดือนเพื่อคุมราคาน้ำมันที่พุ่งสูง ขณะที่รอยเตอร์โพลคาดการณ์ว่าสต็อกน้ำมันเพื่อการพาณิชย์ของสหรัฐคาดว่าจะลดลงเป็นสัปดาห์ที่ห้าติดต่อกันที่ราว 200,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่ถึงวันที่ 9 กันยายน

ทั้งนี้ API มีกำหนดเผยแพร่รายงานสต็อกในวันอังคารนี้ตามเวลา 16.30 EDT (20.30 GMT) ขณะที่ EIA มีกำหนดเผยแพร่เวลา 10.30 EDT (14.30 GMT) ในวันพุธที่จะถึงนี้

แนวโน้มการฟื้นตัวของข้อตกลงนิวเคลียร์ของตะวันตกกับอิหร่านยังคงไม่มีวี่แววว่าจะบรรลุเร็วนี้ โดยเมื่อวันจันทร์ทางการเยอรมนีระบุออกแถลงการณ์ว่าเสียใจที่ทางการเตหะรานไม่ตอบสนองเชิงบวกต่อข้อเสนอของยุโรปในการฟื้นฟูข้อตกลงปี 2015

ข่าวการกำหนดเพดานราคาน้ำมันของสหรัฐก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันอุปสงค์น้ำมันทั่วโลก ขณะที่จีนยังคงบังคับใช้นโยบายซีโรโควิดซึ่งส่งผลให้ปริมาณการเดินทางในจีนลดลงในช่วงวันหยุดยาวในประเทศ

รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ (CPI) ซึ่งจะออกมาเวลา 12.30 GMT ในวันนี้ โดยตลาดคาดหวังในวงกว้างว่าตัวเลขที่ออกมานั้นจะชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า โดยที่ธนาคารกลางทั้งเฟดจะยุโรปส่งสัญญาณพร้อมเข้าคุมเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง

แหล่งข่าว Oil prices rise on concerns over tight supplies โดย Reuters

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0