SEARCH

ค่าเงินบาทเปิดตลาด’แข็งค่า’ที่ 33.79 บาทต่อดอลลาร์ รอลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐ

BBL ขอแซง |ออฟเรคคอร์ด
ผู้นำ G7 หารือการลงทุนเชื้อเพลิงฟอสซิลท่ามกลางวิกฤตพลังงาน
ก.ล.ต.เดินหน้าศึกษากำกับดูแล Virtual Capital Market คาดเสร็จในไตรมาส 4/65

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ( 14 ก.พ.) ที่ระดับ 33.79 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น”จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 33.87 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.55-33.95 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับ แนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า การย่อตัวลงของเงินดอลลาร์ก็พอช่วยหนุนให้เงินบาทสามารถเปิดตลาดเช้านี้แข็งค่าขึ้นมาได้บ้าง อย่างไรก็ดี เราประเมินว่า ควรระวังความผันผวนในตลาดการเงิน โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดทยอยรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ

ทั้งนี้ เราประเมินว่า เงินบาทอาจมีโอกาสทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ตามบรรยากาศของตลาดการเงินที่พลิกกลับมาเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) อีกทั้งในช่วงแรกราว 14.00 น. จนถึง 17.00 น. รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของอังกฤษและยูโรโซน ก็อาจออกมาสดใสและช่วยหนุนให้เงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์ (GBP) แข็งค่าขึ้นได้บ้าง หรืออย่างน้อยแกว่งตัว sideways ซึ่งก็อาจพอช่วยหนุนเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าไปมากได้

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ได้ย่อตัวลงใกล้ระดับ 103.3 จุด ตามภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงิน หลังผู้เล่นในตลาดบางส่วนต่างคาดหวังว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ อาจชะลอตัวลงต่อเนื่อง นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังถูกกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร(EUR) สู่ระดับ 1.073 ดอลลาร์ต่อยูโร ตามภาพเศรษฐกิจยูโรโซนที่อาจไม่ได้แย่อย่างที่ตลาดเคยกังวล ทั้งนี้ แม้ว่าเงินดอลลาร์จะย่อตัวลงบ้าง แต่บรรยากาศเปิดรับความเสี่ยงของตลาด และท่าทีของผู้เล่นในตลาดที่ต่างรอรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI กลับทำให้ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,865 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญที่ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม คือ รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในเดือนมกราคม โดยเราประเมินว่า ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ โดยเฉพาะในกรณีที่ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ยังคงขยายตัวไม่น้อยกว่า +0.4% จากเดือนก่อนหน้า (คิดเป็นระดับ 6.4% และ 5.6% เมื่อเทียบจากปีก่อน ตามลำดับ) ตามที่บรรดานักวิเคราะห์ประเมินไว้ ก็อาจสะท้อนว่า อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ แม้จะชะลอตัวลง (ตามที่ประธานเฟดได้ระบุในการประชุมเฟดและในสัปดาห์ก่อนหน้า) แต่ก็อาจไม่ได้ชะลอ

แหล่งข่าว ค่าเงินบาทเปิดตลาด’แข็งค่า’ที่ 33.79 บาทต่อดอลลาร์ รอลุ้นเงินเฟ้อสหรัฐ, bangkokbiznews, 14 ก.พ. 2566

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0