SEARCH

สศช.จับตาภาวะเงินเฟ้อกระทบแรงงาน หลังค่าจ้างที่แท้จริงลดลง

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นอีกครั้งจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ
ดาวเด่น BRI |ออฟเรคคอร์ด
ดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อเนื่องจากรางานตลาดแรงงานยังแข็งแกร่ง

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาสสองปี 2565 พบความเคลื่อนไหวสำคัญ ได้แก่ สถานการณ์ด้านแรงงานไตรมาสสองปี 2565 สะท้อนการฟื้นตัวจาก COVID-19 อย่างชัดเจน โดยการจ้างงานและชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งอัตราการว่างงานลดลงต่อเนื่องเช่นกัน โดยโดยผู้มีงานทำมีจำนวนทั้งสิ้น 39.0 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 3.1 จากการขยายตัวของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงาน 27.4 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่ชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้นใกล้เคียงกับช่วงปกติ โดยภาพรวมและภาคเอกชนอยู่ที่ 42.3 และ 46.1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องและใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 จำนวนผู้เสมือนว่างงานปรับตัวลดลงจาก 2.8 ล้านคนในไตรมาสสอง ปี 2564 เหลือ 2.2 ล้านคน ในปัจจุบัน และผู้ทำงานล่วงเวลา (ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมง/สัปดาห์) มีจำนวน 6.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว

ด้านอัตราการว่างงานในไตรมาสสองปี 2565 ลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีผู้ว่างงานจำนวน 5.5 แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.37 ลดลงทั้งผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนและไม่เคยทำงานมาก่อน ขณะเดียวกัน การว่างงานยังปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่ม โดยผู้ว่างงานระยะยาว (ผู้ว่างงานนานกว่า 1 ปี) มีจำนวน 1.5 แสนคน ลดลงร้อยละ 1.2 จากไตรมาสสองปี 2564

แหล่งข่าว สศช.จับตาภาวะเงินเฟ้อกระทบแรงงาน หลังค่าจ้างที่แท้จริงลดลง, bangkokbiznews, 26 ส.ค. 2565

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0