SEARCH

“หนี้ครัวเรือนไทย” ความระทมทุกข์ที่รอการแก้ไข (นานมาก)(2)

หุ้นจีนเป็นผู้นำในเอเชีย ดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่องหลังเฟดขึ้นดอกเบี้ย
การวิเคราะห์คลื่น AUDNZD วันที่ 17 มกราคม 2565
ปิดจ๊อบ OTO |ออฟเรคคอร์ด

ข้อมูลของสำงานสถิติแห่งชาติ ปี 2562 ประเทศไทยมีจำนวนครัวเรือน 21,870,960 ครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 26,371 บาท ต่อเดือน หรือปีละ 316,452 บาท จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในไตรมาสแรกของปี 2563 มีสินเชื่อในระบบที่ปล่อยให้กับครัวเรือนจำนวน 13,479,196 ล้านบาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 616,306 บาท สะท้อนสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนของไทยสูงถึง 195% และอาจสูงกว่านี้หากรวมหนี้นอกระบบ ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยในหลายปีที่ผ่านมา กว่าหนึ่งในสามของคนไทยมีภาระหนี้สูงและส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

จากบทความ “ทางออกจากกับดักหนี้ครัวเรือน” โดย ดร.วีรไท สันติประภพ เสนอต่อที่ประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตสภา เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 ระบุว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เร่งตัวเร็วมากในระบบเศรษฐกิจสังคมไทยตั้งแต่ปี 2554 มีหลายสาเหตุ สาเหตุที่สำคัญคือการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงิน non banks หลากหลายประเภท เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และสินเชื่อบุคคลเพื่อการอุปโภคบริโภค นโยบายเศรษฐกิจประชานิยมที่เน้นการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้และเร่งให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ

ปัจจุบันคนไทยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเน้นวัตถุนิยม บริโภคนิยม จึงไม่กังวลที่จะก่อหนี้มาเพื่อการอุปโภคบริโภค หนี้ครัวเรือนของไทยกระจุกตัวสูงในสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งไม่ส่งผลต่อความสามารถในการหารายได้และความมั่นคงของชีวิตในระยะยาวครัวเรือนไทยมีภาระการผ่อนชำระหนี้ในแต่ละเดือนสูง เพราะสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคมีอัตราดอกเบี้ยสูงและระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้สั้นกว่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์

คนที่ต้องการกู้ยืมเงินเพื่อการอุปโภคที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ต้องโดนคิดเบี้ยปรับหรืออัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ บางรายต้องไปกู้เงินนอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในระบบมาก ในทางปฎิบัติลูกหนี้รายย่อยเจรจาเพื่อขอประนอมหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ให้บริการทางการเงินได้ยากมาก เพราะเป็นลูกหนี้รายเล็ก ๆ ไม่มีอำนาจต่อรอง และสัญญาเงินกู้มีแนวโน้มที่จะรักษาสิทธิ์ของผู้ให้บริการทางการเงินมากกว่าลูกหนี้ ลูกหนี้หลายรายมีวงเงินสินเชื่อกับผู้ให้บริการทางการเงินหลายแห่ง ส่งผลให้ผู้บริการทางการเงินแต่ละแห่ง ต้องเร่งติดตามหนี้หรือเร่งฟ้องดำเนินคดีก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ถ้ายินยอมผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ ลูกหนี้กับจะนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่นก่อน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ส่วนบุคคลที่มีเจ้าหนี้หลายราย

แหล่งข่าว “หนี้ครัวเรือนไทย” ความระทมทุกข์ที่รอการแก้ไข (นานมาก)(2)bangkokbiznews, 05 มี.ค. 2565

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0