SEARCH

“หนี้ครัวเรือนไทย” ความระทมทุกข์ที่รอการแก้ไข (นานมาก)(2)

ดอลลาร์แข็งค่าในเอเชียอย่างต่อเนื่องจากสัญญาณของ Fed และ ECB
หุ้นไทยเงียบเหงาแรงซื้อแผ่ว หุ้นสื่อสารช่วยดันดัชนีบวก14 จุด
วอลล์สตรีทร่วงลงเมื่อความกังวลเพิ่มขึ้นก่อนรายงาน CPI

ข้อมูลของสำงานสถิติแห่งชาติ ปี 2562 ประเทศไทยมีจำนวนครัวเรือน 21,870,960 ครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ 26,371 บาท ต่อเดือน หรือปีละ 316,452 บาท จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในไตรมาสแรกของปี 2563 มีสินเชื่อในระบบที่ปล่อยให้กับครัวเรือนจำนวน 13,479,196 ล้านบาท เฉลี่ยครัวเรือนละ 616,306 บาท สะท้อนสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนของไทยสูงถึง 195% และอาจสูงกว่านี้หากรวมหนี้นอกระบบ ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่า หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยในหลายปีที่ผ่านมา กว่าหนึ่งในสามของคนไทยมีภาระหนี้สูงและส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

จากบทความ “ทางออกจากกับดักหนี้ครัวเรือน” โดย ดร.วีรไท สันติประภพ เสนอต่อที่ประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตสภา เผยแพร่เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 ระบุว่าปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เร่งตัวเร็วมากในระบบเศรษฐกิจสังคมไทยตั้งแต่ปี 2554 มีหลายสาเหตุ สาเหตุที่สำคัญคือการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงิน non banks หลากหลายประเภท เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และสินเชื่อบุคคลเพื่อการอุปโภคบริโภค นโยบายเศรษฐกิจประชานิยมที่เน้นการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้และเร่งให้สถาบันการเงินของรัฐปล่อยสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ

ปัจจุบันคนไทยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเน้นวัตถุนิยม บริโภคนิยม จึงไม่กังวลที่จะก่อหนี้มาเพื่อการอุปโภคบริโภค หนี้ครัวเรือนของไทยกระจุกตัวสูงในสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งไม่ส่งผลต่อความสามารถในการหารายได้และความมั่นคงของชีวิตในระยะยาวครัวเรือนไทยมีภาระการผ่อนชำระหนี้ในแต่ละเดือนสูง เพราะสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคมีอัตราดอกเบี้ยสูงและระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้สั้นกว่าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือสินเชื่อเพื่อเช่าซื้อรถยนต์

คนที่ต้องการกู้ยืมเงินเพื่อการอุปโภคที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ต้องโดนคิดเบี้ยปรับหรืออัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ บางรายต้องไปกู้เงินนอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในระบบมาก ในทางปฎิบัติลูกหนี้รายย่อยเจรจาเพื่อขอประนอมหนี้ หรือปรับโครงสร้างหนี้ของผู้ให้บริการทางการเงินได้ยากมาก เพราะเป็นลูกหนี้รายเล็ก ๆ ไม่มีอำนาจต่อรอง และสัญญาเงินกู้มีแนวโน้มที่จะรักษาสิทธิ์ของผู้ให้บริการทางการเงินมากกว่าลูกหนี้ ลูกหนี้หลายรายมีวงเงินสินเชื่อกับผู้ให้บริการทางการเงินหลายแห่ง ส่งผลให้ผู้บริการทางการเงินแต่ละแห่ง ต้องเร่งติดตามหนี้หรือเร่งฟ้องดำเนินคดีก่อนเจ้าหนี้รายอื่น ถ้ายินยอมผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ ลูกหนี้กับจะนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายอื่นก่อน การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ส่วนบุคคลที่มีเจ้าหนี้หลายราย

แหล่งข่าว “หนี้ครัวเรือนไทย” ความระทมทุกข์ที่รอการแก้ไข (นานมาก)(2)bangkokbiznews, 05 มี.ค. 2565

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0