บางครั้งเรื่องที่คุณจำเป็นต้องพิจารณาก่อนจะลงทุนหุ้นก็อาจไม่ได้มีแค่เรื่องวิธีการเล่นหรือแนวทางการดูหุ้นที่น่าลงทุน เพราะยังคงมีปัจจัยอื่น อย่าง บริษัทหลักทรัพย์ หรือ “โบรกเกอร์” แม้ว่าจะมีผู้ให้บริการหลายรายที่ได้รับการรับรองตามตลาดหลักทรัพย์ฯ เหมือนกัน ทว่าการเปิดพอร์ตหุ้นแต่ละแห่งกลับมีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกันไป ซึ่งอาจส่งผลกับคุณภาพในการเล่นหุ้นได้เช่นกัน ดังนั้น บทความนี้เราจะขอมาแนะนำ 10 โบรกเกอร์ธนาคาร อยากเล่นหุ้น เปิดพอร์ตหุ้น ธนาคารไหนดี ปี 2564
เหตุผลที่คุณควรเลือกโบรกเกอร์หุ้นธนาคาร
เชื่อว่า บางท่านอาจจะยังคงสงสัยว่า เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี? ทำไมถึงควรเปิดพอร์ตหุ้นกับธนาคาร? ก่อนที่จะพาทุกท่านไปดูว่า เปิดพอร์ตหุ้นธนาคารไหนดี เราจึงขอมาบอกเหตุผลที่คุณควรเลือกโบรกเกอร์หุ้นธนาคารกัน
เหตุผลหลักจะเป็นเรื่องความน่าเชื่อถือ คุณสามารถใช้บริการกับองค์กรเหล่านี้ได้อย่างสบายใจ และให้ความสะดวกสบายแก่ผู้ใช้งานเต็มที่ การสมัครเปิดบัญชีสามารถทำพร้อมกันได้ทันที จะฝากถอนหรือซื้อขายหุ้นก็รวดเร็วทันใจ นอกจากนี้ก็จะมีเรื่องการให้บริการอย่างมืออาชีพ ติดต่อง่าย เมื่อเกิดปัญหา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้คนส่วนใหญ่เทใจให้โบรกเกอร์ธนาคาร
10 โบรกเกอร์ยอดนิยม เมื่อเจอคำถาม “เปิดพอร์ตหุ้น ธนาคารไหนดี”
สำหรับใครที่กำลังสนใจและสงสัยว่า เล่นหุ้นกับธนาคารไหนดี บทความนี้ก็ได้คัด 10 โบรกเกอร์ยอดนิยมมาฝากกัน จะมีธนาคารไหนบ้าง และแต่ละที่มีจุดเด่นยังไงบ้าง มาดูกัน!
1) SCBS โดย ธนาคารไทยพาณิชย์
โบรกเกอร์หุ้นยอดนิยมที่ เมื่อมีคนถาม โบรกเกอร์ไหนดี 2564 จะต้องมีชื่อนี้ติดมาทุกครั้ง ด้วยความที่รวดเร็ว ติดต่อง่าย ใช้งานสะดวกสบาย โดยเฉพาะใครที่มีบัญชีธนาคารและใช้งานแอปฯ SCB Easy อยู่แล้ว บอกเลยว่า ไม่เกินชั่วโมงก็สามารถเปิดพอร์ตหุ้นได้ทันที แถมยังดีที่ค่าธรรมเนียมต่ำ (ปัจจุบันมีโปรโมชั่นไม่คิดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต่อวัน) พร้อมให้บริการกราฟหุ้นอัจฉริยะ ข้อมูล และผู้ให้คำแนะนำประกอบการตัดสินใจซื้อขายหุ้น บอกเลยว่า ไม่แปลกใจที่คนตัดสินใจเลือกใช้เยอะ
2) BLS โดย ธนาคารกรุงเทพฯ
อีกหนึ่งโบรกเกอร์หุ้นที่ติดแทบทุกโพลในบทความ “เปิดบัญชีหุ้นที่ไหนดี” ด้วยความที่สะดวกสบายไม่แพ้ใคร แถมเหมาะกับมือใหม่หัดเล่น เพราะเปิดพอร์ตหุ้น บัวหลวง ขั้นต่ำ ไม่สูง โดยเฉพาะแบบ Cash Balance ปกติจะไม่มีขั้นต่ำ แต่ปัจจุบันมีการกำหนดยอดฝากถอนขั้นต่ำที่ 3,000 บาท หากไม่ถึงจะมีค่าธรรมเนียม 50 บาท รวมๆ แล้วยังถือว่า อยู่ในระดับที่รับได้ ใครที่อยากลองหัดเล่น ตัวนี้ก็ถือเป็นอีกตัวเลือกที่ดีเลยล่ะ
3) KSecurities โดย ธนาคารกสิกรไทย
เชื่อว่า คนส่วนใหญ่จะมีบัญชีธนาคารกสิกรอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าไม่รู้ว่า จะเล่นหุ้นธนาคารไหนดี ธนาคารกสิกรก็สามารถสมัครเปิดพอร์ตหุ้นได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วทันใจผ่านแอปฯ K Plus ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลายืนยันตัวหลายรอบ เปิดบัญชีหุ้น กสิกร ขั้นต่ำ ไม่กำหนดยอดขั้นต่ำในการฝาก และค่าคอมมิชชั่น เริ่มต้นเพียง 50 บาท มีระบบ Easy Invest ให้ลงทุนได้ง่าย และมี KS Super Stock จากศูนย์วิจัยกสิกรรวบรวมข้อมูลสำคัญ ช่วยให้ตัดสินใจซื้อขายหลักทรัพย์ได้ง่ายและแม่นยำขึ้น
4) TNS โดย ธนาคารธนชาต
หากมือใหม่คนไหนที่คิดว่า น่าจะต้องติดต่อพูดคุยสอบถามกับทางโบรกเกอร์บ่อยๆ ธนชาตก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะให้บริการรวดเร็วทันใจ สมัครได้รวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องยื่นเอกสารไปยืนยันอีกรอบ และค่าธรรมเนียมขั้นต่ำก็ใกล้เคียงกับผู้ให้บริการรายอื่นๆ
5) KSS โดย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สำหรับธนาคารกรุงศรีก็มีบริการเปิดพอร์ตหุ้นออนไลน์ โดยที่มือใหม่สามารถฝึกเล่นผ่านเกมและทดลองใช้งานจริงได้ 15 วัน มีระบบให้ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำถือว่า เบาๆ หากปกติมีบัญชีธนาคารกรุงศรีอยู่แล้ว ก็น่าสนใจไม่น้อย
6) KTZ โดย ธนาคารกรุงไทย
หลายกลุ่มอาชีพน่าจะมีบัญชีธนาคารกรุงไทยกันอยู่แล้ว หากต้องการเปิดพอร์ตหุ้นกับ KTZ ก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะไม่ได้ให้แค่ความสะดวกสบาย แต่จะเห็นว่า มีบริการให้คำปรึกษาแนะนำการลงทุนแบบเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น และยังไม่กำหนดขั้นต่ำในการฝากถอนอีกด้วย
7) CGS-CIMB โดย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย
ใครที่อยากเปิดพอร์ตหุ้นกับธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ตัวนี้จะดีตรงที่ไม่มีค่าคอมมิชชั่นขั้นต่ำ แต่ค่าคอมมิชชั่นจะคิดที่ 0.157% มีบทวิเคราะห์ให้อ่านประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยรวมค่อนข้างเหมาะกับนักลงทุนรายย่อยไม่ได้ใช้จ่ายยอดเยอะมากกว่า
8) TISCO โดย ธนาคารทิสโก้
อีกหนึ่งแหล่งเปิดพอร์ตหุ้นธนาคารที่น่าสนใจ เพราะเป็นผู้ให้บริการธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญด้านหลักทรัพย์มาอย่างยาวนาน บทวิเคราะห์น่าสนใจแบบจัดเต็ม และไม่มีขั้นต่ำในการฝากถอน รวมถึงค่าธรรมเนียมก็อยู่ในเกณฑ์ทั่วไป แต่จะแนะนำสำหรับคนที่มีบ้านใกล้กับสาขาหรือเดินทางไม่ลำบากมากกว่า
9) LHS โดย ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์
โบรกเกอร์หุ้นนอกกระแส ที่มีความน่าเชื่อถือ และเหมาะสำหรับมือใหม่ เล่นไม่มาก อาจจะลอง LHS ก็ได้ เนื่องจากขั้นต่ำไม่เยอะ เปอร์เซ็นต์คอมมิชชั่นก็อยู่ในระดับทั่วไป การติดต่อไม่ยุ่งยาก แต่อาจจะไม่ได้เร็วทันใจแบบผู้ให้บริการรายอื่น
10) โบรกเกอร์หุ้นรายอื่น นอกเหนือจากธนาคาร
นอกจากการเปิดพอร์ตหุ้นกับโบรกเกอร์ธนาคารแล้ว การเปิดกับรายอื่นตามพฤติกรรมการลงทุนก็น่าสนใจไม่น้อย เช่น คนที่ลงทุนจำนวนมากและซื้อขายหลักทรัพย์บ่อยๆ อาจเลือกผู้ให้บริการค่าใช้จ่ายต่ำ อย่าง ZCOM หรือ SBITO ก็ได้ เป็นต้น
ข้อพิจารณาในการเลือกโบรกเกอร์หุ้น
โบรกเกอร์หุ้นแต่ละธนาคารอาจจะไม่ต่างกันมาก แต่ก็นับว่ายังมีความแตกต่างในจุดต่างๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยเช่นกัน
ค่าคอมมิชชัน
สำหรับนักลงทุนรายใหญ่อาจจะรู้สึกว่าไม่เป็นปัญหา เพราะค่าคอมมิชชันจะคิดตามยอดซื้อ แต่หากว่าเป็นนักลงทุนรายย่อย เริ่มต้นลงทุนเป็นครั้งแรก ค่าคอมมิชชันคือส่วนที่ต้องนำมาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
ความสะดวกรวดเร็ว
บางคนชอบไปถึงธนาคาร บางคนชอบทำทุกอย่างผ่านช่องทางออนไลน์ เรียกว่าแล้วแต่ความถนัดของผู้เปิดพอร์ตนั่นเองว่าชอบแบบไหน ส่วนใหญ่ธนาคารเอกชนส่วนใหญ่มักจะเปิดให้ทำธุรกรรมหรือสมัครบริการต่างๆ ออนไลน์กันได้แทบทั้งนั้น
โปรแกรมซื้อขายหุ้น
โบรกเกอร์บางธนาคารมีแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง ที่ทำได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการติดตามข่าวสาร ซื้อขายผ่านแอปเดียวจบ ต้องลองศึกษาว่าโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันซื้อขายหุ้นของธนาคารๆ นั้นคืออะไร
ทำความเข้าใจกันแล้วว่า เปิดพอร์ตหุ้น ธนาคารไหนดี แต่ละแห่งมีรายละเอียดคร่าวๆ ยังไงบ้าง ไม่ว่าคุณจะเลือกผู้ให้บริการรายใด จะเป็นธนาคารหรือบริษัทหลักทรัพย์ทั่วไปก็ตาม อย่าลืมพิจารณาความน่าเชื่อถือ การให้บริการที่รวดเร็ว สะดวกสบาย และตอบโจทย์สไตล์การลงทุนของคุณเสมอ เพราะทุกปัจจัยอาจมีผลต่อการลงทุน ควรศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเปิดพอร์ตหุ้นและเลือกซื้อขายหุ้นแต่ละตัวทุกครั้ง!
COMMENTS