SEARCH

เปิดพอร์ตหุ้น ที่ไหนดี? วิธีการเปิดพอร์ตหุ้น ฉบับเข้าใจง่าย ปี 2021

16 things about fitness magazines your kids don’t want you to know
What the world would be like if medicine shops didn’t exist
What everyone is saying about health care providers

หากคุณกำลังเป็นอีกคนที่สนใจอยากเข้าวงการลงทุนหุ้น แต่ยังไม่มีพอร์ต หรือ บัญชีไว้ซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ แล้วยังไม่รู้ว่า จะเปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี? จะเปิดพอร์ตหุ้น ออนไลน์ หรือ เปิดพอร์ตหุ้น ธนาคารไหนดี ประจำปี 2021 นี้ เราคัดคำตอบมาฝากคุณ จนครบ จบที่นี่ที่เดียวเรียบร้อย!

เปิดพอร์ตหุ้น ที่ไหนดี วิธีการเปิดพอร์ตหุ้น

KEY TAKEAWAYS จาก ‘การเปิดพอร์ตหุ้น’

  • การเปิดพอร์ตหุ้นในปัจจุบันมีหลายธนาคารที่เปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ได้
  • เลือกเปิดพอร์ตหุ้นกับโบรกเกอร์ที่ถูกกฎหมาย
  • ให้พิจารณาเรื่องค่าธรรมเนียมด้วย ค่าทำเนียมแฝงอาจเป็นตัวเลขไม่ใช่น้อย
  • เลือกประเภทพอร์ตหุ้นที่เหมาะกับตัวเอง

เปิดพอร์ตหุ้น ออนไลน์ หรือ เปิดพอร์ตหุ้น ที่ธนาคาร

ก่อนที่เราจะขอพาทุกคนไปไขคำตอบพร้อมกันว่า ควรเลือกเปิดพอร์ตหุ้น ที่ไหนดี? มีเกณฑ์พิจารณายังไงบ้าง? มาดูกันก่อนดีกว่าว่า เปิดพอร์ตหุ้น ออนไลน์ หรือ เปิดพอร์ตหุ้น ที่ธนาคาร ต่างกันไหม?

เมื่อก่อน หากมีนักลงทุนที่สนใจการเปิดพอร์ตหุ้น ส่วนใหญ่ก็คงจะเลือกเดินทางไปเปิดพอร์ตหุ้น ตามสาขาธนาคาร ซะมากกว่า เนื่องจากสะดวกสบาย สำหรับคนที่ยังไม่มีบัญชีธนาคารก็สามารถเปิดได้พร้อมกันรวดเร็วทันใจ (บัญชีธนาคารเดียวกับผู้ให้บริการพอร์ตยิ่งสะดวก) และได้ประเมินถึงความใส่ใจในการบริการของโบรกเกอร์หุ้น ผู้ให้บริการที่คุณจะไปเปิดพอร์ตด้วย

แต่ด้วยความที่สถานการณ์โควิด-19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ภายในปี 2021 นี้ การเลือกเปิดพอร์ตหุ้น ออนไลน์ ก็ถือเป็นอีกวิธีที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็สามารถเปิดพอร์ตหุ้นได้ (ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่เปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ได้ด้วย) ไม่ต้องเสี่ยงสัมผัสเชื้อ ค่าใช้จ่ายบางส่วนลดลง นอกนั้นก็ไม่ค่อยต่างจากการเปิดเปิดพอร์ตหุ้น ธนาคาร เท่าไหร่นัก

เกณฑ์การเลือก เปิดพอร์ตหุ้น ที่ไหนดี?

การจะเลือกเปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี ถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญของนักลงทุน เพราะพอร์ตหุ้นไม่ใช่แค่ตัวกลางในการซื้อขาย แต่ยังมีส่วนช่วยดูแลการลงทุนของคุณด้วย จึงขอแนะนำเกณฑ์การเลือกเปิดพอร์ตหุ้น ที่ไหนดี ให้ตรงใจกัน

1) โบรกเกอร์ถูกกฎหมาย

ไม่ใช่ใครจะมาเป็นโบรกเกอร์ก็ได้ กว่าจะมาเป็นโบรกเกอร์ที่ถูกกฎหมายจึงต้องมีคุณสมบัติที่เข้าเกณฑ์ และต้องดำเนินการต่างๆ ให้ถูกต้องภายใต้ข้อบังคับการเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้สามารถดำเนินการซื้อขายหุ้นต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ ขอแนะนำ ให้เลือกเปิดพอร์ตหุ้นกับโบรกเกอร์ที่ถูกกฎหมายตามลิงก์นี้ https://www.set.or.th/set/memberlist.do

2) การบริการดี มีความมั่นคง

สำหรับคนที่เป็นมือใหม่ การเลือกโบรกที่มีบริการดี ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะคุณจะมีข้อสงสัยที่จำเป็นต้องถามโบรกเกอร์เต็มไปหมด หากเกิดปัญหาก็ต้องพร้อมช่วยทันที มีระบบการซื้อขายที่ได้มาตรฐาน และควรมีสถานะทางการเงินที่มั่นคง โดยอาจพิจารณาได้จาก เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ

3) ค่าธรรมเนียมไม่สูง

การลงทุนหุ้นในบางช่วงอาจจะได้ผลกำไรไม่ค่อยเป็นที่พอใจเท่าไหร่ หากไปเจอค่าธรรมเนียมสูงคงขาดทุนไปกันใหญ่ จึงขอแนะนำให้ พิจารณาดูว่า แต่ละแห่งกำหนดค่าธรรมเนียมไว้เท่าไหร่ คุ้มกับที่จะลงทุนหรือไม่

4) ไลฟ์สไตล์ตรงกัน

การเลือกโบรกเกอร์ ก็เหมือนกับการเลือกคู่หู จำเป็นจะต้องตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การเล่นหุ้นของคุณได้ด้วย เช่น เป็นโบรกเกอร์ที่เชี่ยวชาญสามารถให้บริการออนไลน์ได้เป็นอย่างดี มีสาขาใกล้บ้าน ความสะดวกในการโอนเงินข้พอร์ต ความเร็วในการซื้อขายเป็นยังไง เหมาะกับสายเทรดไหม? เป็นต้น

5) เปิดพอร์ตหุ้นที่ไหนดี

โบรกเกอร์ถูกกฎหมายมักจะให้บริการที่ไม่ต่างกันมาก แต่บางคนอาจจะเลือกเปิดพอร์ตหุ้น กับผู้ให้บริการที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงก็ได้ เพราะส่วนใหญ่ทีมงานจะค่อนข้างเชี่ยวชาญ พร้อมรับมือกับเคสหลากหลาย หรือถ้าชอบติดต่อง่ายๆ ก็เลือกโบรกขนาดย่อมก็ได้ ต้องลองอ่านรีวิวจากหลายๆ ที่ ส่วนใหญ่ที่คุณจะเจอ เพราะถูกแนะนำบ่อยๆ ก็คือรายชื่อดังต่อไปนี้

  • FSS
  • SBITO
  • Z.com
  • YUANTA
  • KGI 
  • กลุ่มธนาคารอย่าง BLS ของธนาคารกรุงเทพ
  • KS ของธนาคารกสิกร
  • KSS ของธนาคารกรุงศรี 

ต้องเอารายชื่อพวกนี้ไปหารายละเอียดอ่านเพิ่มเติมอีกครั้ง หรือรออ่านโพสต์ต่อไปของเราได้เลย 😉

Wire transfer via Unsplash.com

วิธีเปิดพอร์ตหุ้น

หลังจากที่ตัดสินใจเลือกได้แล้วว่า จะเลือกเปิดพอร์ตหุ้น ที่ไหนดี สิ่งที่คุณควรเตรียมตัวต่อไป คือ วิธีเปิดพอร์ตหุ้น โดยอาจเริ่มเตรียมตัวได้ง่ายๆ ดังนี้

1) เลือกประเภทพอร์ตหุ้นที่เหมาะกับคุณ

เมื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ ของโบรกเกอร์ที่คุณสนใจ และคิดว่า “ใช่” กับพฤติกรรมการลงทุนของคุณ ทั้งเรื่องค่าธรรมเนียม การจ่ายเงิน การใส่ใจในการบริการ และอื่นๆ แล้ว อย่าลืมเลือกประเภทพอร์ตหุ้นที่เหมาะกับตัวเองด้วย โดยปกติจะมีให้เลือก 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • บัญชีเงินสด (Cash Account) : บัญชีที่นักลงทุนสามารถสั่งซื้อได้ตามวงเงินที่ได้รับ (โบรกจะประเมินจากเงินฝากในบัญชีธนาคารหรือการลงทุนในกองทุนรวม) โดยจะต้องวางเงินเองก่อน 15-20% แล้วหลังจากนั้นค่อยจ่ายครบ เหมาะกับคนที่มีวินัยทางการเงินค่อนข้างดี
  • บัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance / Cash Deposit) : บัญชีที่นักลงทุนสามารถสั่งซื้อหุ้นเท่ากับเงินฝากไว้กับโบรกเกอร์ คล้ายกับการใช้งานบัญชีธนาคาร ดูว่ามีเงินเท่าไหร่ ถ้าไม่พอก็จ่ายเพิ่ม เหมาะกับคนที่ยังเป็นมือใหม่ ไม่อยากใช้เงินเกินเท่าที่มี
  • บัญชีเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) : บัญชีที่นักลงทุนต้องลงมีเงินลงทุนเองครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งโบรกเกอร์จะเป็นคนออกให้อีกครึ่งหนึ่ง (ไม่ได้ให้ฟรี เป็นการกู้เพื่อลงทุน) แต่จะต้องระวังเรื่องวงเงินกู้ที่อาจลดลง หรือเพิ่มขึ้น ตามราคาหุ้นที่วางเป็นหลักประกันไว้ ถ้าราคาตกมากอาจจะถูกบังคับขาย เหมาะกับคนที่มีประสบการณ์เล่นหุ้นมาพอสมควร

2) เตรียมเอกสารแล้วนำไปยื่น

เมื่อมั่นใจแล้วว่า จะเลือกอะไร ยังไง ที่ไหนบ้าง ต่อไปก็ต้องเตรียมตัวยื่นเอกสาร เพื่อการเปิดพอร์ตหุ้น โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมี ดังนี้

สำเนาบัตรประชาชน

– สำเนาทะเบียนบ้าน

– สำเนาหน้าบัญชีธนาคารที่ต้องการผูกกับพอร์ตหุ้น

– ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท หรือทางโบรกออกให้

นอกจากนี้ อาจต้องใช้เอกสารอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น แบบประเมินความเสี่ยง เป็นต้น แนะนำให้สอบถามจากโบรกเกอร์ที่คุณสนใจไว้แต่เนิ่นๆ จะได้ซื้อหุ้นตัวที่สนใจในราคาดีๆ ได้ทันเวลา

3) วางแผนระหว่างรอรับผลอนุมัติ

ในระหว่างที่รอผลอนุมัติจากทางโบรก อาจจะเริ่มต้นวางแผนการเงินของคุณว่า จะแบ่งเงินลงทุนไว้เท่าไหร่? มีเงินสำรองไว้เผื่อใช้ฉุกเฉินบ้างไหม? มีหุ้นตัวไหนที่กำลังเล็งไว้บ้าง เงินมีพอลงทุนหรือไม่? นอกจากนี้ ถ้ามีเวลาว่างอาจจะลองศึกษาโปรแกรม Streaming หรือโปรแกรมอื่นๆ สำหรับใช้ในการเล่นหุ้น

อ่านบทความเพิ่มเติม: หุ้น IPO คืออะไร? ซื้อหุ้นยังไง? มาดูวิธีซื้อและเคล็ดลับการลงทุน

สรุป

การลงทุนหุ้นต้องใส่ใจในทุกย่างก้าว ไม่เว้นแม้แต่การเปิดพอร์ตหุ้น เพราะถ้าเลือกดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง ช่วยตอบโจทย์พฤติกรรมการลงทุนได้อีกระดับ แต่อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การศึกษาก่อนตัดสินใจในการลงทุนหุ้นแต่ละตัว เพราะต่อให้โบรกดี พอร์ตดี แต่ลงทุนแบบไม่ศึกษาหาข้อมูลก็ไม่ได้เหมือนกัน ดั่งวลียอดฮิตที่ว่า “ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุน”

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: 0