REUTERS/Issei Kato
มองตลาดเอเชียไปกับ Jamie McGeever
ผู้ค้าในเอเชียเริ่มสัปดาห์ภายใต้ความกดดันหลังวอลล์สตรีทเผชิญการเทขายในวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากรายงานการจ้างงานของสหรัฐออกมาแข็งแกร่งอย่างเหลือเชื่อ ขณะที่ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐและจีนเพิ่มขึ้นหลังการโจมตีบอลลูนที่สหรัฐอ้างว่าจีนใช้เพื่อสืบความเคลื่อนไหว
ในสัปดาห์นี้ตลาดยังรอรับข้อมูลเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาค ซึ่งรวมถึงมติการประชุมทางการเงินของอินเดียและออสเตรเลีย ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและการปล่อยสินเชื่อของธนาคารจากจีน และตัวเลขบัญชีเดินสะพัดจากญี่ปุ่น
โมเมนตันของวอลล์สตรีทร่วงลงตั้งแต่สัปดาห์ก่อนจากความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่น่าจะยังเพิ่มขึ้นและความคาดหวังต่อการทำ “softlanding” กำลังเพิ่มขึ้น
ข้อมูลที่ออกมานั้นทำให้มีความสงสัยว่าข่าวดีนั้นจะเป็นข่าวร้ายหรือไม่? จริงอยู่ที่ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งเป็นสัญญาณของเศรษฐกิจที่แข็งแรงและเป็นผลดีต่อรายได้แต่ทางตรงกันข้าวมันเป็นสัญญาณของการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเติมซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและส่งผลกระทบต่อรายได้หรือไม่?
ในด้านความตึงเครียดระหว่างจีน-สหรัฐที่กลับมาย่ำแย่อีกครั้ง หลังการโจมตีบอลลูนที่สหรัฐอ้างว่าเป็นบอลลูนสอดแนมของจีน โดยในด้านจีนประณามการโจมตีดังกล่าวว่าเป็น “การตอบโต้ที่เกินกว่าเหตุ”
นักลงทุนจะจับตาดูวิกฤตในภูมิภาคอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่ Adani Group ของอินเดีย หลังจากที่ Hindenburg Research กล่าวหากลุ่มบริษัทนี้ว่ามีการปั่นหุ้นและก่อหนี้ที่ไม่ยั่งยืน
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของอินเดียพยายามสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนว่าระบบการเงินของประเทศมีความแข็งแกร่ง โดยยืนยันว่า “ตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองทุน คุณภาพสินทรัพย์ สภาพคล่อง ความครอบคลุมของเงินสำรอง และความสามารถในการทำกำไรนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดี” สัญญาณดังกล่าวออกมาก่อนที่การประชุมนโยบายของธนาคารกลางจะแล้วเสร็จโดยคาดการณ์ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยที่ 25 จุด อัตราดอกเบี้ยสะสมอยู่ที่ 6.50%
ขณะที่ในวันอังคารที่จะถึงธนาคารกลางออสเตรเลียจะสิ้นสุดการประชุมนโยบายบายโดยคาดการณ์ว่าจะมีการขึ้นดอกเบี้ยที่ 25 จุดเป็นครั้งที่ 4 ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสะสมอยู่ที่ 3.35% โดยนักวิเคราะห์มองว่านี่จะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายก่อนที่จะอยู่ที่ 3.60% ในเดือนมีนาคม
ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ 3 รายการในวันจันทร์
– GDP ของอินโดนีเซีย (Q4 ปี 2022)
– อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทย (เดือนมกราคม)
– ยอดค้าปลีกยูโรโซน (เดือนธันวาคม)
แหล่งข่าว Morning Bid Asia: U.S.-China crisis? โดย Reuters
COMMENTS