SEARCH

ดอลลาร์ฟื้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนการประชุมนโยบาย

ญี่ปุ่นลงทุนผลิตชิปขั้นสูงถึง 500 ล้าน
ส่งออกไทยร่วงยาว ม.ค.ติดลบ 4.5% หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน
ธปท.ชี้สินทรัพย์ดิจิทัลเริ่มชะลอ จับตาเบี้ยวหนี้ครัวเรือน-กลุ่มเปราะบาง-เอสเอ็มอี

REUTERS/Dado Ruvic/Illustration

ดอลลาร์ฟื้นตัวออกจากระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนในวันจันทร์ก่อนการประชุมของธนาคารกลางในสัปดาห์นี้ แม้ว่าการเพิ่มขึ้นจะถูกจำกัดโดยการคาดการณ์ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายขนาดเล็กลง ดัชนีดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 0.03% อยู่ที่ 101.92 หลังจากแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนที่ 101.50 ในสัปดาห์ที่แล้ว

สเตอร์ลิงขยับขึ้น 0.04% อยู่ที่ 1.2405 ดอลลาร์ ขณะที่ยูโรขยับขึ้น 0.06% อยู่ที่ 1.0874 ดอลลาร์

Rodrigo Catril นักยุทธศาสตร์ด้านสกุลเงินของธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย (NAB) กล่าวว่า “การซื้อขายอยู่ในช่วงแคบๆ โดยตลาดพยายามคาดการณ์ว่าธนาคารกลางแต่ละแห่งจะเดินนโยบายอย่างไร”

เฟดถูกคาดการณ์ในวงกว้างว่าจะขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25 จุด หลังการเร่งขึ้นในตลอดช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเหมือนจะสวนทางกับ ECB ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะขึ้นดอกเบี้ยถึง 50 จุด

เงินยูโรซึ่งอยู่ทิศทางเพิ่มขึ้นถึง 1.5% ต่อเดือนซึ่งได้แรงหนุนจาก ECB ที่ส่งสัญญาณแข็งกร้าวทางนโยบายต่อเนื่อง
ดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนค่าลง 0.05% อยู่ที่ 0.6491 ดอลลาร์ ขณะที่เงินเยนพุ่งขึ้นเกือบ 0.2% อยู่ที่ 129.62 ดอลลาร์ต่อดอลลาร์

คณะนักวิชาการและผู้บริหารธุรกิจในวันจันทร์เรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 2% เป็นเป้าหมายระยะยาว

ดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลง 0.3% อยู่ที่ 0.7088 ดอลลาร์ แต่อยู่ทิศทางเพิ่มขึ้น 4% แบบรายเดือน หลังจากที่อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 33 ปีในไตรมาสที่แล้ว

โฟกัสของตลาดยังอยู่ที่การประกาศข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในวันอังคารที่จะถึงนี้ Rodrigo Catril จาก NAB กล่าว “จนถึงตอนนี้ ข้อมูลจากจีนหรือความรู้สึกในจีนกำลังหนุนสัญญาณเชิงบวกของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ”

การเดินทางช่วงเทศกาลตรุษจีนในจีนเพิ่มขึ้น 74% จากปีที่แล้ว หลังจากทางการยกเลิกการจำกัดการ เงินหยวนในประเทศพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ในวันจันทร์ โดยเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5% อยู่ที่ 6.7530 โดยนักลงทุนให้น้ำหนักต่อสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

แหล่งข่าว Dollar seesaws ahead of busy central bank week โดย Reuters

 

COMMENTS

WORDPRESS: 0
DISQUS: